การหั่นหอมทั้งหอมหัวใหญ่และหอมแดง ทำไมแสบตาและน้ำตาไหล
หอมหัวใหญ่มีสารอะไร มีประโยชน์อย่างไร
• หอมหัวใหญ่ เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกระเทียม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium sativum ดังนั้นจึงมีหลายอย่างที่คล้ายกัน ที่สำคัญคือ ในกระเทียมมีเอ็นไซม์ ชื่อ Alliinase ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยน Alliin ไปเป็น Allicin ซึ่งในกรณีหอมหัวใหญ่เอ็นไซม์ ที่ Alliinase ทำหน้าที่เปลี่ยน Isoalliin ไปเป็นสารประกอบที่รวมกันทำให้น้ำตาไหล
• หอมหัวใหญ่อุดมไปด้วยสารเคมีสองกลุ่มคือ
- Flavonoids (ฟลาโวนอยด์) ชนิดแอนโธไซยานิน (ในหอมหัวใหญ่ที่มีสีแดงหรือสีม่วงแก่บางชนิด) และ
- Flavonoids (ฟลาโวนอยด์) ชนิดฟลาโวนอล เช่น เควอซิทินและอนุพันธ์ ส่งผลให้หอมหัวใหญ่ส่วนใหญ่มีเปลือกสีเหลืองและสีน้ำตาล
• สารประกอบกำมะถันชนิด alkylated cysteine sulfoxides (ACSOs) เป็นสารตั้งต้น ซึ่งเมื่อถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ Alliinase แล้ว จะได้สารที่เมื่อถูกย่อยต่อด้วยเอ็นไซม์ชนิดอื่น ทำให้เกิดสารที่ให้กลิ่นฉุนและรสเฉพาะของหอมหัวใหญ่ (รวมถึง thiosulphinates, thiosulphonates, mono-, di- และ tri-sulphides) ซึ่งเป็นสารทำให้น้ำตาไหล (lachrymatory factor) และเป็นปัจจัยที่ยับยั้งหรือฆ่าศัตรูของหอมหัวใหญ่
ติดตามรายละเอียดใน คิดก่อนเชื่อ