กระท่อมเป็นต้นไม้ในตระกูลเดียวกับกาแฟที่เขียวชอุ่มตลอดปี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมา และปาปัวนิวกินี มีการใช้เป็นสมุนไพรตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Mitragyna speciosa
มีงานวิจัยชื่อ Statement from FDA Commissioner Scott Gottlieb, M.D., on the agency’s scientific evidence on the presence of opioid compounds in kratom, underscoring its potential for abuse ในเว็บ US.FDA (เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2018) และบทความเรื่อง Following “the Roots” of Kratom (Mitragyna speciosa): The Evolution of an Enhancer from a Traditional Use to Increase Work and Productivity in Southeast Asia to a Recreational Psychoactive Drug in Western Countries ในวารสาร BioMed Research International ปี 2015 ระบุว่า กระท่อมมีฤทธิ์ต่อจิตประสาทไปในทางเดียวกับฝิ่น (opioid properties and some stimulant-like effects) เนื่องจากมีสาร mitragynine และ 7-hydroxymitragynine รวมถึงพฤกษเคมีอีกมากมาย
และยังมีบทความเรื่อง The pharmacology and toxicology of kratom: from traditional herb to drug of abuse (เภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกระท่อม: จากสมุนไพรดั้งเดิมไปจนถึงการใช้ยาในทางที่ผิด) ในวารสาร The International Journal of Legal Medicine ของปี 2015 กล่าวว่า การวิจัยต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงผลของใบกระท่อมในการกระตุ้นระบบประสาทและแสดงฤทธิ์การกล่อมประสาทโดยขึ้นอยู่กับขนาดที่ได้รับ บทความนี้แสดงความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของยาและความปลอดภัยจากการใช้งานที่ได้รับความสนใจในระดับชาติและระดับนานาชาติ เนื่องจากการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตเนื่องจากการใช้ใบกระท่อมที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยที่สารอัลคาลอยด์หลักใน kratom, mitragynine และ 7- hydroxymitragynine มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและผลกดประสาทโดยอาศัยตัวรับ monoaminergic และ opioid เป็นหลัก
และเมื่อ 3 เมษายน 2019 www.fda.gov มีบทความเรื่อง FDA and Kratom ซึ่งตอนหนึ่งของบทความระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานว่ากระท่อมนั้นปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคใดๆ ในขณะที่คนอเมริกันบางคนใช้เพื่อจัดการกับอาการปวดเรื้อรัง รักษาอาการถอนยาเมื่อเลิกใช้ยาเสพติด หรือเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งมีการระบุว่า เริ่มได้ผลภายใน 5-10 นาทีและมีการออกฤทธิ์นาน 2-5 ชั่วโมง
ฟังรายละเอียดได้ใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา