เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมเราจึงมองเห็นภาพตอนกลางวันชัดเจนเป็นภาพสี แต่พอตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงไฟเราจึงมองเห็นเป็นภาพใกล้ขาว-ดำ
• ในดวงตาเรามี เรตินาทำหน้าที่เป็นจอรับภาพซึ่งมีเซลล์รับแสง 2 ชนิดคือ เซลล์รูปแท่ง (rod cell) ซึ่งไวต่อการรับแสงสว่าง แต่ไม่สามารถแยกความแตกต่างของสีได้ ส่วนเซลล์อีกประเภทหนึ่งเป็นเซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่แยกความแตกต่างของสีได้แต่ต้องการแสงสว่างมากจึงจะบอกสีของวัตถุได้ถูกต้อง ดังนั้นในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงธรรมชาติน้อย cone cell จึงทำงานไม่ได้
เซลล์ที่เกี่ยวกับการมองเห็นในลูกตานั้นต้องใช้พลังงานอย่างมากในการทำงานหรือ
• เซลล์รับแสงที่จอประสาทตามีความหนาแน่นของไมโตคอนเดรียมากที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพราะต้องใช้พลังงานอย่างสูงในการทำงาน และเสื่อมสภาพค่อนข้างเร็ว ซึ่งดูเหมือนอยู่ที่ประมาณอายุ 40 ปี ซึ่ง 30% ของ rod cell จะค่อยๆ ตาย และในขณะที่แม้ cone cell ยังคงอยู่ แต่ความชัดเจนในการมองเห็นก็ลดลง
มีงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพลูกตาด้วยแสงสีแดงอย่างไรบ้าง
• การส่องแสงความยาวคลื่นยาว (650–900 นาโนเมตร) สู่ตาสัตว์นั้นช่วยปรับปรุงการทำงานของไมโตคอนเดรียซึ่งเป็นการเพิ่มการผลิต ATP และลดการเกิด ROS เช่น
o บทความเรื่อง Recharging mitochondrial batteries in old eyes. Near infra-red increases ATP (การเพิ่มการเก็บพลังงานของไมโตคอนเดรียในสายตาคนแก่ โดยแสงระดับใกล้แสงอินฟราเรดเพิ่มปริมาณ ATP) ในวารสาร Experimental Eye Research ของปี 2014 ได้แสดงให้เห็นว่า แสงที่ความยาวคลื่น 670 นาโนเมตร ช่วยเพิ่มการทำงานของ cytochrome C oxidase ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้าง ATP และลดการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งเป็นปัจจัยทำให้ไมโตคอนเดรียเสื่อมสภาพ
และมีงานวิจัยอะไรอีกบ้าง ที่จะช่วยทำให้เราถนอมสายตาให้ดีได้ ติดตามฟังใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย