• มีข้อมูลว่าผู้ป่วย COVID-19 นั้น เป็นเด็กราวร้อยละ 2 จึงทำให้มีการตั้งสมมุติฐานว่าเด็กนั้นเสี่ยงน้อยเพราะการทำงานของยีนที่ควบคุมปริมาณเอนไซม์ Angiotensin-converting enzyme 2 (ACE-2) ยังอยู่ในระดับต่ำอยู่
ต่อมาได้มีบทความประเภท research letter ของกุมารแพทย์ของ Icahn School of Medicine at Mount Sinai เรื่อง Nasal Gene Expression of Angiotensin-Converting Enzyme 2 in Children and Adults ในวารสาร JAMA ของปี 2020 ซึ่งเป็นการย้อยกลับไปดูข้อมูลเก่าที่ได้ทำการเปรียบเทียบการทำงานของยีนสร้าง ACE-2 ของเซลล์เอ็พพิทีเลียวของผนังจมูกจากอาสาสมัคร 305 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 60 ปี ซึ่งอาศัยในเมืองนิวยอร์ค ระหว่างปี 2015-2018 ก่อนที่จะมี COVID-19
• ในการศึกษานั้น ได้ทำการเก็บเซลล์โดยใช้แปรงเล็ก ๆ กวาดในช่องจมูกแล้วเก็บไว้ทันทีในหลอดบรรจุของเหลวที่ช่วยทำให้ RNA ภายในเซลล์คงสภาพอยู่ได้ที่ -80 °C
• เป็นการวัดหา mRNA ที่จะเป็นแม่พิมพ์ในการสร้างโปรตีน AEC-2
• ผลการศึกษาพบว่า อายุนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดให้ยีนเริ่มทำงานมากขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า ทำไมเด็ก (4-9 ปี) จึงติดเชื้อน้อยกว่า
• อย่างไรก็ดี ข้อมูลนั้นยังมีความย้อนแย้งกันอยู่ โดยมีบทความเรื่อง Nasal ACE2 Levels and COVID-19 in Children ตีพิมพ์ในวารสาร JAMA ในปี 2020 เช่นกัน ให้ข้อมูลว่า เคยมีการประเมินพบว่าการติดเชื้อในเด็ก ดูไม่แตกต่างหรืออาจดูสูงกว่าคนอายุ 30-49 ปี แต่ต่ำกว่าคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และในบทความเดียวกันก็ได้กล่าวถึงการศึกษาหนึ่งใน Iceland ซึ่งพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปีจำนวน 564 คนติดเชื้อเพียงร้อยละ 6.7 ซึ่งดูน้อยกว่าเด็กอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 8,635 คน ซึ่งติดเชื้อถึงร้อยละ 13.7
• ดังนั้นจึงน่าสนใจว่า เมื่อเด็กกลับจากโรงเรียนถึงบ้าน มีโอกาสเป็น asymptomatic carrier แก่คนสูงอายุหรือไม่