หนังสือเล่มหนึ่งซึ่งกล่าวถึง อาหารอันตรายจานต่าง ๆ ที่คนไทยไม่ควรกิน ซึ่งดูเป็นข้อมูลที่ดี แต่ปรากฏว่าข้อมูลที่ให้นั้นมีทั้งที่ถูกบ้าง กำกวมบ้างหรือผิด ไม่อยู่บนหลักฐานทางวิชาการ จึงเกิดประเด็นว่า ความผิดพลาดหรือไม่ครบของข้อมูลนั้น ควรนำมาอธิบายให้ถูกตามหลักการที่วงการวิชาการยอมรับ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค
จากหนังสือซึ่งกล่าวถึงเรื่องของ อาหารอันตรายจานต่าง ๆ ให้ข้อมูลว่า เบคอนหรือความจริงแล้วก็คือ หมูสามชั้นติดมันที่ถูกสไลด์ให้เป็นแผ่นบางนั่นเอง แน่นอนว่ามันต้องอุดมไปด้วยไขมัน ไขมัน และไขมัน ! ที่คุณอาจมีสิทธิ์อ้วนได้แบบงง ๆ และคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดก็อาจอุดตันจนก่อให้เกิดโรคหัวใจได้โดยที่คุณไม่ตั้งใจ แถมเบคอนยังมีส่วนผสมของดินประสิว ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็น "สารไนโตรซามีน" สารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย ส่วนแฮมก็ใช่ย่อย เพราะมีทั้งไขมัน สารกันบูด และสารไนโตรซามีน ซึ่งเป็นตัวก่อมะเร็ง เช่นเดียวกับเบคอนและไส้กรอก
แล้วข้อมูลไหนถูกต้อง ข้อมูลไหนไม่ถูกต้อง มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อย่างไร
• งานวิจัยเรื่อง Diet and colorectal cancer in UK Biobank: a prospective study ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Epidemiology ของปี 2020 ให้ข้อมูลสรุปว่า ผู้ที่กินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป (ซึ่งเบคอน/แฮมอยู่ในอาหารกลุ่มนี้) 76 กรัมต่อวัน มีแนวโน้มต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ในลักษณะความเสี่ยงเช่นเดียวกับผู้ที่กินแฮมเบอร์เกอร์ที่มีเนื้อวัวราวครึ่งกิโลกรัมต่อวัน ความเสี่ยงนั้นจะสูงกว่าคนทั่วไปที่กินเนื้อแดงและเนื้อแปรรูป 21 กรัมต่อวัน ราว 20%
• สารก่อมะเร็งในเบคอน/แฮมนั้น อยู่ในกลุ่ม nitrosamines ซึ่งเกิดระหว่างการผลิต (การหมักที่มีเกลือไนไตรท์ปรากฏอยู่) และสารกลุ่ม heterocyclic amines ที่เกิดได้ระหว่างการทอด ยิ่งหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่รมควันด้วย สารพิษที่มากับควันคือ polycyclic aromatic hydrocarbons
• หน่วยงานสากลต่าง ๆ ที่ดูแลด้านสุขภาพของมนุษย์ เช่น WHO ได้กล่าวว่า การกินแม้แต่เนื้อออกสีแดงหรือเนื้อสัตว์แปรรูปในปริมาณหนึ่งอาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก อย่างไรก็ดีความเสี่ยงนี้ขึ้นกับพฤติกรรมการกินของแต่ละคนว่า กินบ่อยแค่ไหน กินมากหรือไม่ กินกับอะไร
ฟังคำอธิบายงานวิจัยและคำแนะนำใน คิดก่อนเชื่อ