สภาวะที่เกิดขึ้นทางสิ่งแวดล้อมเช่น ฝุ่นในอากาศก่อนการระบาดของโรคเช่น COVID-19 นั้น ดูมีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือ COVID-19
มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง
• บทความเรื่อง Exposure to air pollution and COVID-19 mortality in the United States. ตีพิมพ์ในวารสาร medRxiv ของปี 2020 ได้อธิบายถึงงานวิจัยที่ดูค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในอากาศของช่วงปี 2000 ถึงปี 2016 ของ 3080 counties (ครอบคลุมราวร้อยละ 98 ของพลเมืองในสหรัฐอเมริกา) ต่อจำนวนการตายของประชาชนเนื่องจาก COVID-19 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2020
o งานวิจัยกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของฝุ่น PM 2.5 ในอากาศเพียง 1 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร มีความเกี่ยวข้องในการเพิ่มความเสี่ยงต่อการตายด้วย COVID-19 ถึงร้อยละ 15 (ของประชากร 60 ล้านคนที่อยู่ในระบบ medicare)
o ผลของงานวิจัยได้มุ่งย้ำว่า การดูแลมลภาวะในอากาศนั้น มีความสำคัญมากต่อการบริหารการป้องกันอันตรายจาก COVID-19 ทั้งปัจจุบันและอนาคต
• ในอดีตครั้งที่มีปัญหาโรคระบาด SARS ในจีนนั้น เมื่อโรคสงบลงได้มีการทำวิจัยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มลภาวะทางอากาศและความเสี่ยงในการตายของคนไข้ SARS ซึ่งผลการศึกษานั้น ได้ตีพิมพ์ในวารสาร BioMed Central ในปี 2003 ในชื่อเรื่อง Air pollution and case fatality of SARS in the People's Republic of China: an ecologic study
o สาระสำคัญของงานวิจัยคือ ในช่วงการระบาดของโรคนั้น มีคน (น่าจะติดเชื้อ SARS) ป่วยราว 5,327 คน แล้วตาย 349 คน ซึ่งสามารถคำนวณได้ว่า คนที่ตายนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีค่า API (air pollution index) ปานกลาง มีความเสี่ยงในการตายสูงกว่าคนที่อยู่ในพื้นที่มีค่า API ต่ำราวร้อยละ 84
แล้วมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างไรบ้าง