Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นมะเร็งปอดเมื่อสูดควันบุหรี่
13:33
ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นมะเร็งปอดเมื่อสูดควันบุหรี่
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
ไม่ใช่ว่าทุกคนต้องเป็นมะเร็งปอดเมื่อสูดควันบุหรี่
วันที่เผยแพร่ : 05 ก.พ. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

•    มะเร็งปอดมีสาเหตุหลักคือ การสูบควันต่าง ๆ ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ 
•    ในควัน โดยเฉพาะควันบุหรี่มีสารก่อมะเร็งมากมาย ที่ส่วนใหญ่ต้องการกระตุ้นหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเพื่อออกฤทธิ์ด้วยเอนไซม์กลุ่มไซโตโครม พี-450 (Cytochrome P-450)
•    ไซโตโครม พี-450 เป็นโปรตีนที่มีในเกือบทุกชนิดของสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ ที่ยกเว้นนั้นเป็นแบคทีเรียบางชนิดที่ยังวิเคราะห์ไม่พบ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มี 
•    หน้าที่สำคัญของไซโตโครม พี-450 ในสัตว์ชั้นสูงคือ การออกซิไดซ์ (การเติมออกซิเจนหรือการเอาไฮโดรเจนออก จากโมเลกุลที่เป็น substrate ของเอนไซม์) สารกลุ่มสเตียรอยด์ กรดไขมัน วิตามินเช่น วิตามินเอ และสารแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
•    เอนไซม์ไซโตโครม พี-450 ชนิดที่สำคัญซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดมะเร็งปอดคือ ไซโตโครม พี 450 ชนิด 2A6  ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นสารก่อมะเร็งชื่อ N-nitrosamine N-nitrosonornicotine (NNN) และ 4-(methylnitrosoamino)-1-(3-pyridyl)-1- butanone (NNK)

•    ความแตกต่างในแต่ละคนเป็นส่วนกำหนดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ความแตกต่างของปริมาณโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของไซโตโครม พี-450 ในการกระตุ้นสารก่อมะเร็งให้ออกฤทธิ์ได้

มีรายละเอียดงานวิจัยเรื่องนี้ว่าอย่างไร คลิกฟังใน คิดก่อนเชื่อ
 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป