ว่าวบุหลัน wau bulan (หรือว่าวบูแล) ว่าวรูปพระจันทร์เป็นทั้งสัญลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศมาเลเซีย และเป็นหนึ่งในเพลงพื้นบ้านจากเขตกลันตัน มาเลเซียเหนือ ที่นิยมใช้ขับขานในการละเล่นดิเกร์บารัต dikirbarat อันเป็นมหรสพพื้นบ้านที่คลี่คลายมาจากการร้องเพลง ซิกีร zikir ของคนมุสลิมสายซูฟีเป็นเพลงพื้นบ้านที่คนมาเลเซียรู้จักมากที่สุดเพลงหนึ่ง ถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางมิเพียงแต่การร้องเล่นดิเกร์บารัตตามประเพณีเท่านั้น หากยังมีการประยุกต์ในวิถีป๊อปคัลเจอร์หลากหลายแนวทาง ตัวอย่างในรายการครั้งนี้สำรวจเพลงว่าวบุหลัน ที่กลายไปเป็นการสร้างสรรค์ดนตรีเต้นรำ เพลงแนวฮิพฮอพ ร็อค แจ๊ส ขับร้องประสานเสียงเยาวชน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปรากฏารณ์ที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้เราได้เห็นความเป็นไปได้ในการต่อยอดลมหายใจเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองในภูมิภาคอาเซียนให้เติบโตอยู่ในโลกปัจจุบันได้อย่างสง่างามเหมือนว่าวดวงจันทร์ที่ล่องลอยอยู่ในหัวใจคนมาเลเซียตลอดเวลา