การประกอบสร้างวัฒนธรรมดนตรีแนวรักชาติบ้านเมืองหรือชาตินิยม (Nationalism music) และการใช้เพลงปลุกใจ (Patriotic song) ถือเป็นส่วนหนึ่งในศิลปะการขับเคลื่อน โฆษณาและควบคุมทัศนคติของผู้คนในประเทศให้เกิด ความจงรักภักดีในชาติบ้านเมือง ทั้งการสดับรับฟังปรัชญาความคิดที่เป็นอุดมการณ์หลักของระบบการเมืองการ ปกครองที่ผันแปรมาเป็นถ้อยคำในเพลงที่มีทั้งตรงไปตรงมาและซ่อนเงื่อนงำเอาไว้ตลอดจนการได้เกิดการมีส่วนร่วมขององคพายพต่างๆของสังคมในการขับขานบรรเลงหรือการนำเพลงปลุกใจไปใช้ในบริบทของวัฒนธรรมประเพณีการ ศึกษาและการดำเนินชีวิตประจำวัน ล้วนแล้วเป็นสิ่งน่าสนใจอย่างยิ่งในการตระหนักถึงพลานุภาพของดนตรีชาตินิยม และเพลงปลุกใจที่ปรากฏมีในโลกนี้รวมทั้งในบริบทสังคมอาเซียนด้วย
ทุกเดือนสิงหาคมของอินโดนีเซีย นับตั้งแต่ปีประกาศเอกราช 1945 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันจะมีธรรมเนียบการขับ ร้อง การบรรเลงบทเพลงชาตินิยม เพลงปลุกใจ ทั้งในพิธีการของภาครัฐ ภาคเอกชน ตามชุมชนทั่วไป บทเพลงที่เป็นสัญลักษณ์แสดงความรักชาติ-หลักคิดในการเมืองการปกครองอินโดนีเซีย-อุดมการณ์ชาตินิยมสุดโต่ง อาทิ Indonesia Raya (มหานครอินโดนีเซีย, เพลงชาติอินโดนีเซีย-ผลงานของ Wage Rudoft Supratman), Garuda Pancasila (ครุฑปัญจศีล), Indonesia Pusaka (สรรเสริญมรดกเอกราชของคนอินโดนีเซีย), Tanah Airku (ปิตุภูมิ), Satu Nusa Satu Bangsa (หนึ่งประเทศ หนึ่งชนชาติ) ฯลฯ ได้ถูกนำมาใช้ร้องรับขับขานรองรับอุดมการณ์ของรัฐมาทุกยุคทุกสมัยมีธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติต่อเพลงอย่างเคารพ มีศักดิ์ศรีสร้างความภูมิใจให้คนอินโดนีเซียโดยถ้วนหน้า
แต่ในโลกที่เปลี่ยนไป เมื่อเทคโนโลยีดนตรีไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทในสังคม และพลังการผลิตงานดนตรีไปอยู่ในมือของวัยรุ่นคนยุคใหม่ ที่มิเพียงแต่เติบโตด้วยระบบการศึกษาและการครอบงำทางวัฒนธรรมที่รัฐเคยกำหนดโชคชะตาของ พวกเขาอย่างที่เคยเป็นมาในคนรุ่นก่อนๆ อะไรจะเกิดขึ้น
เชิญชวนสัมผัสกับ “เสียงใหม่” และ “ความรู้สึกใหม่” ของดนตรีชาตินิยม-เพลงปลุกใจของอินโดนีเซีย เพลงศักดิ์สิทธิ์ ที่กลายร่างไปเป็นเสียงดนตรีสังเคราะห์เสียงขับร้องผ่านเอฟเฟค ลูปจังหวะเร้าใจ การมิกซ์ซาวนด์ดนตรีกระแทกกระทั้น ท้าทายวัยมันส์สิ่งที่ยังค้างคาใจคืออุดมการณ์รักชาติและอำนาจของเพลงปลุกใจจะเป็นเช่นไรหนอ