ตำนานเพลงพื้นบ้านลาว-ไทยที่เกี่ยวพันระหว่างประวัติศาสตร์ขัดแย้งทางการเมืองช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ความการแพ้พ่ายของวีรบุรุษ-คนคิดเห็นต่างที่เรียกร้องสิทธิอันพึงมีของตนต้านอำนาจที่กดทับและความทุกข์ระทมขมขื่นของเชลยศึกลาวที่ถูกละเมิดคุณค่าความเป็นมุนษย์ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นคำขับลำที่มีเนื้อหาทั้งประชดประชัน ทั้งเจ็บแค้นและทั้งท้อแท้
กระนั้นก็ยังถูกนำไปผลิตซ้ำจนเป็นบทเพลงยอดนิยมในสังคมสยาม การเล่นแอ่วลาวเป่าแคนในราช สำนักที่ถูกปฏิเสธด้วยการใช้กฏหมายพระราชอำนาจและทัศนคติแง่ลบ ส่งผลให้ลาวแคน-ลาวแพนกลายเป็นเพลงที่มี สถานะกำกวม หากแต่ถูกใช้สอยต่อมาในฐานะเพลงเพื่อความบันเทิง มากกว่าที่จะเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ สังคมวัฒนธรรม การสำรวจลำนำพลงลาวแคน-ลาวแพนด้วยบทขับของเก่า มาสู่การค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับชะตากรรมของเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์วีรบุรุษผู้ถูกมองจากฝั่งไทยว่าเป็นกบฏ
การถูกคุมขังจนสิ้นพระชนม์เปรียบเทียบกับวิถีกบฏยุคใหม่อย่างหมอลำวัยหนุ่มที่ถูกทางราชการกักขังหน่วงเหนี่ยวและละเมิดสิทธิมนุษยชนเพียงถูกประเมินว่าคิดต่างเห็นต่างจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและสถาบัน นอกจากนี้ยังได้รวบรวมบทเพลงวงศาคณาญาติที่เป็นประดิษฐกรรมทางดนตรีฝั่งลาวในวาระการเกิดอนุสาวรีย์เจ้าอนุวงศ์ขึ้นมาใหม่เพื่อประโยชน์ในการทบทวนการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย