Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / เพลงดนตรีวิถีอาเซียน / EP. 287: เมาะอินัง จากเพลงเต้นรำราชสำนักมะละกาสู่สังคมมาเลเซียร่วมสมัย
EP. 287: เมาะอินัง จากเพลงเต้นรำราชสำนักมะละกาสู่สังคมมาเลเซียร่วมสมัย
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
EP. 287: เมาะอินัง จากเพลงเต้นรำราชสำนักมะละกาสู่สังคมมาเลเซียร่วมสมัย
วันที่เผยแพร่ : 29 ก.ย. 67
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
แชร์

เมาะอินัง Mak Inang หรือที่เรียกย่อๆว่า อินัง Inang เป็นหนึ่งในรูปแบบการเต้นรำของมาเลเซียที่พัฒนาขึ้นในราช สำนักของสุลต่านมะห์มุดชาห์แห่งมะละกา Sultan Mahmud Shah (1488-1511) ใช้แสดงในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ในพระราชวัง มีการกำหนดแบบแผนของการเต้นรำ การใช้ทำนอง จังหวะ การเคลื่อนไหวร่ายรำ กระทั่งการแต่งกาย ที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากการเต้นรำอื่นๆอาทิซาปิน โจเก็ต อัสลีฯลฯ มีการแตกแขนงรูปแบบของเพลงดนตรี และการร่ายรำไปเป็น Mak Inang Selendang , Mak Inang Tua, Mak Inang cina, Mak Inang Kampung และ อื่นๆ นอกจากจะใช้ในกิจกรรมบันเทิงแล้วยังพัฒนาไปสู่วิถีชีวิต ความเชื่อ และการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของ คนมาเลเซียด้วย

.

การเล่าเรื่องเมาะอินังครั้งนี้เลือกเอาเสียงประวัติศาสตร์ของอดีตศิลปินมาเลเซียมาเป็นตัวอย่าง อาทิ Ahmad Yusoh, S Rasali & Norsini Azali, Dato Sudirman & Zaleha Hamid ฯลฯ จนถึงศิลปินรุ่นใหม่ Rampai Harmoni และ เชื่อมโยงไปถึงเพลงไทยที่ได้รับอิทธิพลต้นแบบจากทำนองเมาะอินังมีเป็นเพลงของวงกรุงเทพสวิง, การะเกด และนัก ร้องลูกกรุงลูกทุ่งไทย

ผู้จัดรายการ
ความคิดเห็น ()
รูปภาพโปรไฟล์ผู้แสดงความคิดเห็น
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป