Thai PBS Podcast
Advance Search
ผลการค้นหา 169 รายการ
เรียงจาก

20
1
03 เม.ย. 68

หลวงพระบาง เมืองมรดกโลกของลาว อาจไม่เป็นที่รู้จักในเรื่องของสิ่งก่อสร้างใหญ่โต แต่ความงดงามของเมืองนี้มาจากงานศิลปะที่สะท้อนความศรัทธาและความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่น โดยเฉพาะพระพุทธรูปนับพันองค์ในถ้ำริมฝั่งโขงที่แสดงถึงความเคารพนับถือ

.

หนึ่งในงานศิลปะที่โดดเด่นคือ "ศิลปะไร้มายา" หรือ Naïve Art ซึ่งเกิดจากฝีมือช่างพื้นบ้านที่ไม่ได้ศึกษาศิลปะอย่างเป็นทางการ ผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงวิถีชีวิตและความเชื่อของชาวหลวงพระบาง

.

ที่วัดเชียงทองมีภาพประดับกระจกสีที่เล่าเรื่องราวนิทานชาดกและนิทานพื้นบ้านล้านช้าง เช่น เรื่องของแม่วัวกับลูกน้อยที่สะท้อนถึงความรักและความกตัญญู ความสัมพันธ์นี้แสดงถึงมุมมองของความรักที่ไม่มีเงื่อนไข

.

งานศิลปะไร้มายาเหล่านี้ไม่เพียงแต่ดึงดูดความสนใจจากความงาม แต่ยังสะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ของหลวงพระบาง เมืองมรดกโลกที่รักษาความเป็นพื้นบ้านและความเชื่อดั้งเดิมได้อย่างดีเยี่ยม

38
1
01 เม.ย. 68

นักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นำเรื่องราวของหลานกงที่จะนำพาคุณผู้ฟังไปรู้จักกับ “เกลือเคย” เครื่องจิ้มของภูเก็ต หน้าตาคล้ายน้ำปลาหวานของคนไทย อาหารพื้นเมืองโบราณที่อยู่มาแล้วกว่าศตวรรษ อะไรคือเคล็ดลับความอร่อยที่ทำให้เพลิดเพลินจนหยุดไม่ได้ และเป็นสิ่งที่หลายครัวเรือนในภูเก็ตต้องมีติดตู้เย็นไว้พร้อมรับประทานตลอดเวลา

11
1
30 มี.ค. 68

ร่วมย้อนความทรงจำถึงบรรยากาศแห่งความสุข ความสนุก ในประเพณีพื้นบ้านของไทยอย่าง “รำวง” กิจกรรมที่สร้างความรื่นเริงให้กับคนไทยมาอย่าวยาวนาน พร้อมทั้งสาระความรู้มากมายเกี่ยวกับเรื่องของรำวงแต่ละชนิด รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยนั้นมีผลต่อรำวงอย่างไรบ้าง

เรื่องราวทั้งหมดจะถูกบอกเล่าผ่านศิลปินที่มีความผูกพันกับรำวงอย่าง “อ้อย กะท้อน” รวมไปถึง “ดำรง วงศ์ทอง” และ “เด่นชัย สายสุพรรณ” วัฒนธรรมแห่งความสุขเหล่านี้จะมีเรื่องราวใดซ่อนอยู่บ้าง ไปติดตามพร้อมกันกับ #นักผจญเพลงPodcast ตอน “รำวง” ความรื่นเริงที่อยู่คู่คนไทย ค่ะ

69
3
29 ธ.ค. 67

ปิดท้ายบทเพลงสะท้อนวัฒนธรรมของเพศหลากหลาย (LGBTQ+) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย

.

เรื่องราวการทำงานพอดแคสต์ของนักมานุษยวิทยาดนตรี ที่ถ่ายทอดความเชื่อมโยงระหว่างดนตรีและชุมชน LGBTQ+ ในสังคมไทยที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งในแง่ของการยอมรับทางสังคมและความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ

.

ดนตรีที่เป็นมากกว่าบทเพลง แต่คือหมุดหมายแห่งความทรงจำและการประกาศตัวตน เช่น การแสดงออกผ่านบทเพลง "ฉันก็เป็นหญิงคนหนึ่ง" ของเจินเจิน บุญสูงเนิน, เรื่องราวชะตาชีวิตของนางโชในเพลงประกอบภาพยนตร์ "เพลงสุดท้าย", บทบาทของกะเทยในโลกบันเทิงไทย, รวมถึงบทเพลงที่ปลุกกระแสการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคม เช่น "ประเทือง", "กะเทยประท้วง", "กะเทยศรีอีสาน", "โอม-หิ้วหวี", และ "พอไหมคะกะเทย"

.

ไทยในฐานะประเทศที่ถูกมองว่ามีวัฒนธรรม LGBTQ+ ที่หลากหลายและมีชีวิตชีวา ยังคงต้องก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อไปสู่การยอมรับทั้งในด้านกฎหมายและสังคมวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เช่น การสมรสเท่าเทียม จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสิทธิของบุคคลในชุมชน LGBTQ+ ให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

.

กะเทย เธอ เขา และเรา ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เชื้อชาติใด หรือพูดภาษาอะไร เราทุกคนล้วนมีหัวใจ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าเท่าเทียมกันในทุกมิติของชีวิต

9
2
22 ธ.ค. 67

ฟิลิปปินส์ถือเป็นหนึ่งในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เด่นชัดในด้านความหลากหลายสำหรับชุมชน LGBTQ+ แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านกฎหมายและสังคมอยู่หลายประการ เช่น ยังไม่ได้รับรองการสมรสเท่าเทียม ความรักเพศเดียวกันไม่มีสิทธิรับบุตรบุญธรรม การเปลี่ยนชื่อหรือเพศในเอกสารยังไม่ได้รับการรับรอง รวมทั้งสิทธิทางการแพทย์ก็ยังไม่ครอบคลุม นอกจากนี้ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่มีอิทธิพลสูงในประเทศยังมีทัศนคติอนุรักษ์นิยม

.

อย่างไรก็ตาม ความเด่นชัดในชุมชนเมืองและการสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่กำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดงาน Pride March ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก หรือบทเพลงของ Vice Ganda คอมเมเดี้ยนทรานและพิธีกรชื่อดังซึ่งเป็นตัวแทนสำคัญของชุมชน LGBTQ+ ในฟิลิปปินส์ รวมถึง Kimmortal ศิลปินเควียร์นอนไบนารี ฟิลิปปินส์-แคนาดา Ice Seguerra ศิลปินที่แสดงความหลากหลายในนิยามตนเองทั้งในฐานะเลสเบี้ยนและชายข้ามเพศ และแรปเปอร์ Gloc-9 กับเพลงดังอย่าง "Sirena" ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบทเพลงที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและสร้างความตระหนักถึงความหลากหลายทางเพศในฟิลิปปินส์ได้อย่างงดงาม

.

และแน่นอน เราไม่ลืมที่จะระลึกถึงเหตุการณ์ "วันกะเทยศึก" สงครามระหว่างกะเทยไทยและกะเทยฟิลิปปินส์เมื่อปี 2567 ที่ผ่านมา แม้ว่าจะไม่ได้สนับสนุนความรุนแรงใด ๆ แต่ประวัติศาสตร์ครั้งนี้ก็เป็นประเด็นที่น่าขบคิดถึงวิถีชีวิตของคนเพศหลากหลายในประชาคมอาเซียนว่าจะอยู่ร่วมกับคนในโลกอย่างสันติได้อย่างไร

10
1
15 ธ.ค. 67

ในประเทศมาเลเซีย การแสดงออกเกี่ยวกับประเด็น LGBTQ+ ในสื่อและดนตรียังคงถูกจำกัดอย่างมาก เนื่องจากข้อกฎหมายและบรรทัดฐานทางสังคมที่เข้มงวด ทำให้ศิลปินในมาเลเซียที่สร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับ LGBTQ+ มีจำนวนจำกัด อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการถูกตราหน้า เช่นคำว่า “ปอนดัง” (Pondan) และ “มะหยา” (Mak Nyah) ซึ่งมักใช้เรียกบุคคลข้ามเพศในเชิงลบ ศิลปินเหล่านี้จึงต้องเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงในระดับสูง

.

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อันวาร์ อิบราฮิม ก็เคยถูกดำเนินคดีในข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน ซึ่งเกือบทำให้เขาสูญเสียอำนาจทางการเมือง เหตุการณ์นี้สะท้อนถึงความเข้มงวดของสังคมมาเลเซียในประเด็น LGBTQ+

.

เสียงเพลงแห่งความเสรีทางเพศในมาเลเซียครั้งนี้เล่าเรื่องผ่านบทเพลงของ เจสซี จุง (Jessie Chung) ศิลปินทรานส์แนวป๊อป, ชิกา โคโรนา (Chiga Corona) มือกีตาร์และนักร้องจากวงร็อค Tingtongketz, อนิตา ซาราวัก (Anita Sarawak) นักร้องเพลงป๊อปที่สร้างสรรค์ผลงานเพลงสะท้อนแนวคิดสตรีนิยม, เอล็ก (Alextbh) ศิลปินเควียร์แนวป๊อป, เนมวี (Namewee) แรปเปอร์ฮิปฮอปที่เคยมีผลงานเพลงเกี่ยวกับประสบการณ์เลดี้บอยเมืองไทย และชูเดียม (Shh…Diam) วงดนตรีที่เคลื่อนไหวในประเด็นหญิงรักหญิง ศิลปินเหล่านี้ยังคงใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือแสดงออกถึงอัตลักษณ์และมุมมองต่อประเด็นทางสังคม แม้จะต้องเผชิญกับข้อจำกัดและการต่อต้านในสังคมมาเลเซียก็ตาม.

8
2
12 ธ.ค. 67

ถ้าจะพูดถึงนักแสดงอารมณ์ขันมากฝีมือทั้งร้อง ทั้งเล่นไม่ว่าจะเป็นการแสดง ดนตรี จำอวดต่าง ๆ คงจะเป็นใครไปไม่ได้ถ้าไม่ใช่ “น้าโย่ง เชิญยิ้ม” แต่กว่าจะเป็นสุดยอดฝีมือในวันนี้ชีวิตของเขาล้วนเดินทางผ่านทักษะและประสบการณ์มากมาย แต่สิ่งที่อยู่ในใจที่เขาใช้ยึดเหนี่ยวเสมอมาคือการทำทุกอย่างด้วยความรักและความสุข แม้ในวันนี้น้าโย่งจะได้รับรางวัลมากมายแต่เหนือสิ่งอื่นใดน้าโย่งก็ยังคงมีความสุขในทุกการแสดงและการใช้ชีวิตอย่างมั่นคงเสมอมา
 

7
2
08 ธ.ค. 67

ในตอนนี้ เราจะสำรวจเรื่องราวของกลุ่มคนข้ามเพศในอินโดนีเซียที่เรียกกันว่า บันจี (Banci) และทรานสปูอัน (Transpuan) โดยคำว่า "บันจี" มักถูกใช้ในความหมายเชิงลบ ส่วนคำว่า "ทรานสปูอัน" เป็นคำที่ให้ความหมายในเชิงบวกมากกว่า เรื่องราวเหล่านี้ถูกเล่าผ่านเสียงเพลงของศิลปินระดับแนวหน้า เช่น เก็บบี้ เวสต้า (Gebby Vesta) และลูชินตา ลูน่า (Lucinta Luna) ที่สะท้อนตัวตนและประสบการณ์ชีวิตของพวกเธอ นอกจากนี้ยังมีผลงานของไค มาตา (Kai Mata) ศิลปินหญิงรักหญิงที่ถ่ายทอดความรู้สึกผ่านบทเพลง และการแสดงที่แสดงความเคารพต่อ "เพลงชาติกะเทยอินโดนีเซีย" อย่าง Goyang Inul ซึ่งเป็นผลงานของอินุล ดาราทิสตา (Inul Daratista) ราชินีเพลงดังดุต ผู้ที่สร้างชื่อเสียงจากลีลาเต้นอันเย้ายวนและสง่างาม ท่ามกลางสังคมที่ยังคงมีมุมมองอนุรักษ์นิยมต่อความหลากหลายทางเพศ

.

แม้ว่าปัจจุบันชายรักชายและหญิงรักหญิงในอินโดนีเซียยังคงเผชิญกับข้อจำกัดทั้งทางสังคมและกฎหมาย แต่ก็มีความพยายามจากชุมชนเพศหลากหลายและองค์กรต่าง ๆ ในการสร้างความตระหนักรู้และการยอมรับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ยังต้องการเวลาและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเพื่อสร้างสังคมที่เปิดกว้างและเท่าเทียมมากขึ้น

10
1
01 ธ.ค. 67

เริ่มต้นการเดินทางกับเรื่องราวของคนชาติพันธุ์บูกิสบนเกาะสุลาเวสี ที่พาคุณทำความรู้จักกับบทบาทของ บิสซู ผู้ที่ต้องซ่อนตัวตนที่แท้จริงของตนเองในฐานะเพศชาย-หญิง หรือกะเทย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมศักดิ์ของชุมชน แต่เมื่อศาสนาอิสลามเข้ามามีบทบาทในการเมือง ก็ทำให้ บิสซู ถูกขับไล่ออกจากสังคม ถูกกดทับทั้งในด้านสถานะและสิทธิการดำรงชีวิต

.

จากนั้นเราจะไปพบกับ วาเรีย (Waria) หรือแดรกควีน transgender ข้างถนน ที่กลายเป็นขวัญใจในโลกโซเชียล แม้จะมีช่วงเวลาที่ถนนชอปปิงเงียบเหงา แต่ แดรกควีน ก็ไม่เคยกลัวโรคระบาด ยังออกเดินท่องท้องถนน สร้างความสุขและความสนุกให้กับทุกคน ไม่เลือกชนชั้นและเพศ

.

ท้ายที่สุด วาเรีย แห่งอินโดนีเซียในบทบาทหญิงสาวผู้สวม ญิฮาบ ตามหลักศาสนา ร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าและร้องเพลงกล่อมลูกให้เข้าใจถึงความรักและการให้อภัย นี่คือความมหัศจรรย์ของคนข้ามเพศในอินโดนีเซีย ที่เราทุกคนสามารถเรียนรู้และเข้าใจร่วมกันได้

18
2
24 พ.ย. 67

เลงเกอร์ ลานัง (Lengger Lanang) เรื่องราวของชายในร่างหญิงที่ต้องทำหาที่ร่ายรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม โบราณตามความเชื่อของคนในเขตบันยูมัส จังหวัดชวากลาง ประเทศอินโดนีเซีย บทบาทหาที่สร้างความสนุกสนาน บันเทิงให้แขกเหรื่อที่มาร่วมงานปาตี้ชุมชน จากการท้าทายมุมคิดการดำรงอยู่ของคนเพศหลากหลายในสังคมที่ไม่ยอมรับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษของคนข้ามเพศ กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์ของการิน นูโกรโฮ จนได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยมเมื่อปี 2020

ผลการค้นหา 4 รายการ
เรียงจาก

ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป