ปิดท้ายบทเพลงสะท้อนวัฒนธรรมของเพศหลากหลาย (LGBTQ+) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไทย
.
เรื่องราวการทำงานพอดแคสต์ของนักมานุษยวิทยาดนตรี ที่ถ่ายทอดความเชื่อมโยงระหว่างดนตรีและชุมชน LGBTQ+ ในสังคมไทยที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งในแง่ของการยอมรับทางสังคมและความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ
.
ดนตรีที่เป็นมากกว่าบทเพลง แต่คือหมุดหมายแห่งความทรงจำและการประกาศตัวตน เช่น การแสดงออกผ่านบทเพลง "ฉันก็เป็นหญิงคนหนึ่ง" ของเจินเจิน บุญสูงเนิน, เรื่องราวชะตาชีวิตของนางโชในเพลงประกอบภาพยนตร์ "เพลงสุดท้าย", บทบาทของกะเทยในโลกบันเทิงไทย, รวมถึงบทเพลงที่ปลุกกระแสการยอมรับความหลากหลายทางเพศในสังคม เช่น "ประเทือง", "กะเทยประท้วง", "กะเทยศรีอีสาน", "โอม-หิ้วหวี", และ "พอไหมคะกะเทย"
.
ไทยในฐานะประเทศที่ถูกมองว่ามีวัฒนธรรม LGBTQ+ ที่หลากหลายและมีชีวิตชีวา ยังคงต้องก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อไปสู่การยอมรับทั้งในด้านกฎหมายและสังคมวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เช่น การสมรสเท่าเทียม จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสิทธิของบุคคลในชุมชน LGBTQ+ ให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
.
กะเทย เธอ เขา และเรา ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เชื้อชาติใด หรือพูดภาษาอะไร เราทุกคนล้วนมีหัวใจ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าเท่าเทียมกันในทุกมิติของชีวิต