คุยกันแบบสมมุติว่า กับ สุทธิชัย หยุ่น, วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ และแขกรับเชิญ นิรุตติ์ ศิริจรรยา คุยเรื่องสมมุติว่า ถ้าประเทศไทยดีที่สุด (ในโลก) !! ฟังในรายการ สมมุติว่า ในรูปแบบ Podcast
เงินเดือน เป็นตัวเลือกสำคัญสำหรับทุกคนในการตัดสินใจเลือกสถานที่ทำงาน แต่สำหรับคนรุ่นใหม่นอกจากเงินเดือนแล้ว Empathy (การเอาใจเขามาใส่ใจเรา) ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญมากในลำดับต้น ๆ ที่ใช้เลือกองค์กรในการทำงาน จากมุมมองและแนวคิดที่ต้องการองค์กรและเพื่อนร่วมงานที่มีความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น สำหรับบริษัทหรือนายจ้าง จะสร้าง Empathy ให้เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างไร ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ คุณจีรวัฒน์ ตั้งบวรพิเชฐ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านการสร้างแบรนด์นายจ้าง เล่าให้ฟังในรายการ เศรษฐกิจติดบ้าน ค่ะ
บ้านเรียนเรนิตาโรส มีคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวอย่างคุณปนิตา สุวรรณกุล จัดการเรียนรู้ให้กับลูกสาว เด็กหญิงเรนิตา โรส โดยเน้นให้ผู้เรียนเติบโตอย่างมีความสุขและเรียนรู้ตามหลักสูตรปฐมวัยที่เน้นพัฒนาการ 4 ด้านคือ ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเดอะวันประกันภัย ผู้เอาประกันจะทำอย่างไร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีคำสั่งกระทรวงการคลังที่ 2423/2564 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) เนื่องจากปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่า บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีฐานะการเงินไม่มั่นคงโดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน จัดสรรสินทรัพย์หนุนหลังไม่เพียงพอตามที่กฎหมายกำหนด มีสินทรัพย์สภาพคล่องไม่เพียงพอสำหรับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน และปรากฏว่าอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนล่าช้า อันเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศฯ การประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนฯ และยังคงมีจำนวนค่าสินไหมทดแทนคงค้างจำนวนมาก รวมทั้งมีการปิดทำการโดยไม่มีเหตุผลและไม่ได้ขออนุญาตจากนายทะเบียนจึงเป็นกรณีที่บริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน
โดย คปภ. ได้เตรียมมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย เพื่อรองรับมิให้ผู้เอาประกันภัยได้รับผลกระทบ ดังนี้
1.บูรณาการความร่วมมือกับกองทุนประกันวินาศภัย (ในฐานะผู้ชำระบัญชี) และบริษัทประกันวินาศภัย จำนวน 13 บริษัท บริษัทประกันชีวิต จำนวน 8 บริษัท ดังนี้
1.1 ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายและได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัทแล้ว สามารถติดต่อกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อขอรับชำระหนี้โดยกองทุนประกันภัยวินาศภัยจะเข้ารับช่วงจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามที่ได้มีการอนุมัติค่าสินไหมทดแทนไว้แล้ว
1.2 ผู้เอาประกันภัยที่ได้รับความเสียหายแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนไว้กับบริษัท สามารถยื่นเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
1.3 ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยทุกประเภทของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) สามารถที่จะดำเนินการในส่วนของกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ดังนี้
- ขอรับคืนเบี้ยประกันภัยที่เหลือจากกองทุนประกันวินาศภัย โดยกองทุนประกันวินาศภัยจะคืนเบี้ยประกันภัย ให้ตามส่วนระยะเวลาตามความคุ้มครองที่เหลืออยู่ หรือ
- นำเบี้ยประกันภัยที่จะได้รับคืนไปใช้แทนเงินสดในการเลือกซื้อประกันภัยได้จากบริษัทประกันวินาศภัย บริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ ได้ทุกประเภทกรมธรรม์ประกันภัย
- ผู้ถือกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปซื้อความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะให้ความคุ้มครองเฉพาะภาวะโคม่า ในวงเงินความคุ้มครอง 300,000 บาท เบี้ยประกันภัย 300 บาท หรือนำเบี้ยประกันภัยไปซื้อความคุ้มครองกับบริษัทประกันวินาศภัยและบริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ โดยจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มอีก 10% ของกรมธรรม์ใหม่ แต่ไม่เกิน 500 บาท ยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
ติดต่อ กองทุนประกันวินาศภัย โทร. 0-2791-1444 ต่อ 26-30, สำนักงาน คปภ. โทร. 0-2515-3999 หรือ สายด่วน คปภ. 1186 หรือ chatbot “คปภ. รอบรู้” (LINE@OICConnect)
การเสวนา ทำไมขนส่งสาธารณะไทย ไม่ดีขึ้นสักที ที่ จ.ขอนแก่น
ฟังผลการสำรวจปัญหารถสาธารณะที่ จ. ขอนแก่น พร้อมข้อเสนอเพื่อพัฒนาการให้บริการรถสาธารณะจาก อนุวัฒน์ พรหมมา
นักวิจัย ตัวแทนผู้บริโภค
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน ภูมิคุ้มกันอาจถูกปรับเปลี่ยนได้ถ้ากินอาหารผลิตทางอุตสาหกรรมบ่อยเกินไป
คปภ.ห้ามบริษัทประกันยกเลิกประกันภัยโควิด-19 เจอจ่ายจบ หรือปรับเปลี่ยนเงื่อนไขกรมธรรม์โดยไม่ได้รับความยินยอม
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาฯ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) แถลงภายหลังหารือร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทยและบริษัทประกันที่ขายประกันโควิด เจอจ่ายจบ จากกรณีที่มีบริษัทประกันภัยบริษัทหนึ่ง ส่ง sms ถึงผู้เอาประกันโควิด เจอจ่ายจบ โดยให้ยืนยันหรือเลือกกรมธรรม์ใหม่แบบกำหนดเวลาตอบกลับ ซึ่งเกิดความกังวลว่า จะให้สิทธิประโยชน์กับผู้เอาประกันเป็นธรรมหรือไม่
คปภ.ยืนยันว่าคำสั่งนายทะเบียนเลขที่ 38/2564 ในการห้ามยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโควิด ยังคงมีผลบังคับใช้อยู่ รวมถึงการห้ามปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของกรมธรรม์โดยไม่ได้รับการยินยอมจากผู้เอาประกันจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย
บริษัทประกันวินาศภัยที่ได้รับผลกระทบจากการเสนอขายประกันภัย COVID-19 แบบเจอจ่ายจบ อาจพิจารณา เข้าร่วมโครงการผ่อนผันเพิ่มเติม เพื่อเสริมมาตรการเยียวยาให้บริษัทมีสภาพคล่องพร้อมที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนประกันภัย COVID-19 ให้กับผู้เอาประกันภัยได้มากขึ้น
หากบริษัทประกันวินาศภัยใดที่ประสบปัญหา ต้องการดำเนินการเพื่อมิให้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง การเสนอแนวทางปรับปรุงเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 โดยเสนอทางเลือกที่น่าสนใจในการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทเดิม หรือปรับเปลี่ยนให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ที่อาจเป็นประโยชน์แก่ผู้เอาประกันภัยมากขึ้น สามารถกระทำได้เฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันภัยสมัครใจเท่านั้น ห้ามบริษัทประกันไปบังคับผู้เอาประกันภัยให้ยอมรับการบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย หรือยอมรับเงื่อนไขความคุ้มครองใหม่ของบริษัท
ด้านคุณนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รอง ผอ. ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้เรียกร้องต่อ คปภ. ให้กำกับดูแลผู้เอาประกันไม่ให้ได้รับผลกระทบ โดยตั้งข้อสังเกตว่า
1. การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขในสัญญากรมธรรม์อื่นที่ถูกเสนอให้ผู้เอาประกัน ยังไม่ได้รับอนุญาตจาก คปภ. ซึ่งบริษัทประกันใช้วิธีเผยแพร่ส่งข้อความไปถึงผู้เอาประกันโดยตรง อาจจะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าได้รับอนุญาตจาก คปภ.แล้ว ถ้าไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิประโยชน์ต่อผู้เอาประกัน อาจทำให้ผู้เอาประกันได้รับความคุ้มครองไม่เหมือนเดิม เพราะผู้เอาประกันอาจจะอ่านกรมธรรม์ซึ่งเป็นภาษากฎหมายไม่เข้าใจหรือเข้าใจคลาดเคลื่อน อาจจะทำให้เลือกกรมธรรม์ที่สิทธิประโยชน์น้อยกว่าเดิม ฉะนั้น ทาง คปภ.จึงควรตรวจสอบกรมธรรม์ก่อนอนุญาตให้บริษัทประกันขายกรมธรรม์แบบใหม่
2. สิทธิประโยชน์กรมธรรม์อื่น มีเงื่อนไขความคุ้มครองมากกว่าหรือน้อยกว่ากรมธรรม์โควิด เจอจ่ายจบแบบเดิม ซึ่งยังไม่ชัดเจน เพราะบริษัทประกันใช้วิธีส่ง sms ให้ผู้เอาประกันตอบรับภายในระยะเวลา ซึ่งถ้าผู้เอาประกันไม่ทราบรายละเอียด เช่น ไม่รู้ว่าสามารถตอบกลับยืนยันจะใช้กรมธรรม์เดิมที่ได้ทำไป และยังกำหนดให้ผู้เอาประกันตอบกลับภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งถ้าหากไม่ตอบกลับเท่ากับว่าจะยกเลิกกรมธรรม์เดิม เข้าข่ายลักษณะมัดมือชกหรือไม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขความคุ้มครองต้องได้รับการยินยอมจากผู้เอาประกัน ฯ
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในภูมิคุ้มกัน ตอนนี้
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน สุราไม่ดื่มเสียเลยดีไหม
อาหารอุตสาหกรรมคืออะไร
• อาหารอุตสาหกรรมคือ อาหารที่ผลิตเป็นจำนวนมากในแต่ละครั้ง โดยแต่ละกล่องหรือห่อหรือกระป๋องมีความใกล้เคียงกันทั้งกายภาพและคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งรวมถึงทั้งรสชาติและปริมาณ ส่วนใหญ่นั้นอาหารอุตสาหกรรมเก็บได้นานในช่วงเวลาหนึ่งและที่ช่วงอุณหภูมิที่กำหนดไว้ ประเด็นที่น่าสนใจคือ การที่ทำให้ได้อาหารตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้ผลิตจำต้องอาศัยเทคโนโลยีทางอาหารที่มีการเลือกใช้สารเจือปนในอาหารที่เหมาะสมในการทำให้อาหารอยู่ในสภาพที่เมื่อผู้บริโภคเห็นด้วยตาและสัมผัสด้วยลิ้นแล้วถูกใจ อาหารอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ต้องใช้สารเจือปนในอาหารมากกว่า 1 ชนิด ซึ่งยากที่ผู้บริโภคจะรู้จักเพราะมักระบุเป็นระหัส INS ของ JECFA (Joint FAO/WHO Expert Committee on Food Additives) หรือ E ตามที่ทางสหภาพยุโรปกำหนด อย่างไรก็ดีราวร้อยละ 99 ทั้งสองระบบใช้เลขระหัสเดียวกัน
สารเจือปนในอาหารอะไรที่มีข้อมูลการศึกษาว่า มีแนวโน้มในการปรับระบบภูมิต้านทาน
• BHA (E320) ชื่อเต็มคือ butylated hydroxyanisole เป็นสารต้านการหืนของไขมันซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า antioxidant (ความจริงน่าจะใช้คำว่า anti-rancidity) ประโยชน์ของสารประเภทนี้ในอาหารอุตสาหกรรมคือ ป้องกันการเปลี่ยนสภาพของของกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งโดยธรรมชาติแล้วกรดไขมันไม่อิ่มตัวสามารถถูกออกซิไดส์ตรงตำแหน่งที่เป็นพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนในโมเลกุลไขมันให้แตกหัก ได้สารที่ก่อให้เกิดกลิ่นหืนซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มอัลดีไฮด์ (aldehyde) ที่มีขนาดโมเลกุลเล็กจึงระเหยได้
o มีนักวิจัยระดับปรมาจารย์ที่ศึกษาเกี่ยวกับสารต้านมะเร็งในอาหารคือ Dr. Lee Wattenberg จาก University of Minnesota เคยทำงานวิจัยที่พบว่า BHA สามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองที่ได้รับสารก่อมะเร็งกลุ่ม PAH ได้กล่าวยกย่องให้เป็นสารเจือปนในอาหารที่มีศักยภาพสูงในการต้านการเกิดมะเร็ง อย่างไรก็ดีในอีกแง่หนึ่งเมื่อมีการศึกษาถึงผลของ BHA ต่อระบบภูมิคุ้มกันของเซลล์ที่ได้จากสัตว์ทดลองซึ่งตีพิมพ์เป็นบทความวิจัยเรื่อง Inhibitory Effect of an Anti-oxidant, Butylated Hydroxyanisole, on the Primary in Vitro Immune Response ในวารสาร Proceedings of The Society for Experimental Biology and Medicine ของปี 1977 แล้วปรากฏว่า BHA นั้นมีผลยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันทั้ง B-cells และ T-cells อย่างไรก็ดีมีงานวิจัยที่ตามมาหลายชิ้นที่ศึกษาในสัตว์ทดลองพบประมาณว่า BHA นั้นสามารถกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันได้ในปริมาณต่ำ แต่กลับยับยั้งระบบภูมิคุ้มกันที่ปริมาณสูง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับสารต้านออกซิเดชั่นอื่น เช่น เบต้าแคโรทีน
• tartrazine (E102 สีเหลือง) และ Amaranth (E123 สีแดง) ทั้งสองเป็นสีสังเคราะห์ที่มีการอนุญาตให้ใช้ในอาหารอุตสาหกรรมทั่วไป รวมทั้งอาหารที่ผลิตจากอุตสาหกรรมครัวเรือน ซึ่งประเภทหลังค่อนข้างน่ากังวลในปริมาณที่มีการใช้
o นักวิจัยกรีกกลุ่มหนึ่งได้เผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง Immunological studies on Amaranth, Sunset Yellow and Curcumin as food colouring agents in albino rats ในวารสาร Food and Chemical Toxicology ของปี 2010 ที่แสดงให้เห็นว่าสี tartrazine (E102) และ Amaranth (E123) ยับยั้งระบบภูมิต้านทานโดยศึกษาในเม็ดเลือดขาวของคน (Human peripheral blood lymphocytes) ในหลอดทดลอง
ฟังรายละเอียดต่อใน คิดก่อนเชื่อ
คปภ.สั่งให้ บ.เอเชียประกันภัย หยุดรับประกันภัยชั่วคราวและจ่ายเคลมผู้เอาประกันรายเดิมตามปกติ ห้ามเคลื่อนย้ายทรัพย์สิน และเร่งแก้ปัญหาฐานะทางการเงิน
รับฟังความคิดเห็นสภาองค์กรผู้บริโภค เสียงของผู้บริโภคทุกคนมีค่า ทำให้การทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน ภูมิคุ้มกันอาจถูกปรับเปลี่ยนได้ถ้ากินอาหารผลิตทางอุตสาหกรรมบ่อยเกินไป
- บริษัทอินเดียเปิดตัววันหยุดปวดประจำเดือน
- นโยบายลูก 2 คนของจีนทำให้เด็กใช้นามสกุลแม่เพิ่มมากขึ้น