วัฒนธรรมพังก์ (Punk Culture) เป็นมากกว่าดนตรีแต่เป็นวิถีชีวิตและวิธีการแสดงออกที่เกิดจากความไม่พอใจและ การต่อต้านต่อสังคม การปฏิเสธทุนนิยมและลัทธิบริโภคนิยม วัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นจากการที่วัยรุ่นและกลุ่มคนที่รู้สึกถูก ละเลยและไม่ยอมรับในสังคมแสวงหาวิธีการแสดงตัวตนในรูปแบบที่แปลกใหม่ตรงไปตรงมา และมักไม่สนใจ บรรทัดฐานแบบเดิมๆ โดยทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมพังก์แสดงออกผ่านดนตรีศิลปะ แฟชั่น ภาษา ฯลฯ รายการครั้งนี้ เน้นถึงบทบาทและผลงานวิพากษ์สังคมของวงดนตรี The Rebel Riot ที่ส่งเสียงของคนเล็กๆต่อการ ต่อต้านการครอบงำของรัฐบาลเด็จการทหาร และเป็นความหวังของคนหนุ่มสาวเมียนมาร์ที่เห็นความเปลี่ยนแปลง ของสังคมในระยะยาว
.
The Rebel Riot เป็นผู้ใช้เสียงเพลงเป็นอาวุธในการต่อสู้ทางการเมืองและสะท้อนปัญหาสิทธิมนุษยชน จากจุดเริ่ม ความสะเทือนใจในเหตุการณ์ "การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์" (the Saffron Revolution) พ.ศ.2550 นำไปสู่การเกิดวง ดนตรีที่เปิดประตูอิสรภาพทางความคิดของคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ในเมียนมาร์มีบทเพลงที่ตั้งคำถามกับอำนาจเผด็จการ ทหาร-ตำรวจ การตั้งคำถามกับความด้อยพัฒนาของสังคม การศึกษา การเอารัดเอาเปรียบแรงงาน และการสื่อสาร ปัญหาของชนชั้นล่างผ่านเสียงกรีดร้อง ดนตรีก้าวร้าว ในวิถีพังค์ที่เขาเลือก