ปลดล็อกกัญชา หลัง 9 มิ.ย.65 กับข้อห่วงใยความชัดเจนของกฎหมายและมาตรการควบคุมการใช้ต้องไม่มีผลกระทบกับคนที่แพ้สารในกัญชา
หลังจากมีการออกกฎหมายอนุญาตให้ปลูกกัญชาได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่ต้องมีการแจ้งภาครัฐ แต่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความชัดเจนของกฎหมาย ว่าแต่ละส่วนของต้นกัญชา ส่วนใดไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด ส่วนใดจัดว่าเป็นยาเสพติด และข้อกำหนดเรื่องความเข้มข้นของสารสกัดที่มี THC ที่ว่าไม่เกิน 0.2 % จะได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ แต่ถ้าเกิน 0.2 % จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ประชาชนโดยทั่วไปจะวัดได้อย่างไร ว่าเกินหรือไม่เกิน ผิดกฎหมายหรือไม่
รวมถึง มาตรฐานควบคุมการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา เช่น ผงปรุงรสกัญชาที่เริ่มมีขาย หากร้านอาหารนำมาปรุงอาหารและไม่มีการแจ้งผู้บริโภคก่อน แล้วคนที่กินเกิดแพ้สารในกัญชา จะทำอย่างไร ใครจะรับผิดชอบ ผู้บริโภคต้องระมัดระวังอย่างไร ร้านอาหารที่ใส่ใบกัญชา
ฟังรายละเอียดจาก ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นักศึกษาแห่แจ้งความ ปคบ.ดำเนินคดีเอเยนซี่ หลอกสมัครไปโครงการเวิร์คแอนด์ทราเวลหาประสบการณ์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ไป ทำให้สูญเงินตั้งแต่ 2 หมื่น-1แสนบาท เคยร้องเรียน สคบ.แต่ยังไม่มีความคืบหน้า ในการติดตามให้คืนเงิน
ฟังรายละเอียดและเตือนภัยจาก คุณเปิ้ล ผู้ปกครองของนักศึกษา
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา และชนาธิป ไพรพงค์ ตอน หอยนางรมจัดว่าเป็นยาโป๊ได้หรือไม่