สภาองค์กรของผู้บริโภค เรียกร้องภาครัฐ จัดการปัญหาลักลอบนำเข้าผักผลไม้จีเอ็มโอ โดยเฉพาะสับปะรดสีชมพู หวั่นปนเปื้อนพืชพื้นถิ่น กระทบการส่งออกผลไม้และความปลอดภัยผู้บริโภค
ฟังรายละเอียดและข้อเสนอจาก ปรกชล อู๋ทรัพย์ อนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สภาองค์กรของผู้บริโภค
และนอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เพิ่มมาตรการกำกับดูแลตามกฎหมาย โดยกำหนดให้อาหารที่ได้จากเทคนิคการดัดแปรพันธุกรรม หรือ GMO เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย เว้นแต่ผ่านการประเมินความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กำหนด และแก้ไขให้อาหาร GMO ทุกชนิดต้องแสดงฉลากตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม หรือ GMO และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การแสดงฉลากครอบคลุมอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ขณะนี้ประกาศฯทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว อยู่ระหว่างประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลใช้บังคับทางกฎหมายต่อไป
สับปะรด จัดเป็นอาหารทั่วไป ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 การนำเข้าซึ่งอาหารเพื่อจำหน่ายต้องมีใบอนุญาตนำเข้า และผ่านการตรวจสอบของด่านอาหารและยา แต่ "สับปะรดสีชมพู" เป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 การนำเข้าจึงต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าว
ป้ายคิวอาร์โค้ดช่วยผู้พลัดหลง
มูลนิธิกระจกเงา เปิดเผยข้อมูลผู้พลัดหลงในปี 2564 พบผู้ป่วยจิตเวชพลัดหลงมากที่สุดจำนวนกว่า 450 คน รองลงมาเป็นผู้สูงอายุป่วยสมองเสื่อม และพัฒนาการช้าตามลำดับ ล่าสุด ใช้นวัตกรรมป้ายคิวอาร์โค้ดรีดติดเสื้อต่อยอดจากริสแบนด์คิวอาร์โค้ด “หาย(ไม่)ห่วง”สำหรับผู้สูงอายุและบุคคล
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา และชนาธิป ไพรพงค์
ตอน สารอะคริลาไมด์ที่เกิดจากมันฝรั่งทอด ส่งผลกระทบกับสุขภาพอย่างไร
ความเป็นพิษของสารอะคริลาไมด์ที่ส่งผลต่อเด็กในท้องคืออะไร พร้อมคำแนะนำการบริโภคอาหารทอด