ทำไมบางคนกินมากอย่างไรก็ไม่อ้วน
บางคนกินนิดเดียวก็อ้วนได้ ในขณะที่บางคนกินเยอะมากแต่ไม่อ้วน ที่น่าประหลาดใจไปกว่านั้นคือ พ่อแม่ ไม่อ้วน อาจเพราะคุมอาหารด้วย แต่ลูกอ้วนเอาอ้วนเอา อะไรคือคำอธิบายปรากฏการณ์นี้
วิทยาศาสตร์พอบอกได้หรือไม่ว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนอ้วนง่ายหรือยาก
• ปัจจุบันพอได้คำตอบคร่าว ๆ แล้วว่า การที่ยีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะไม่ทำงาน ส่งผลให้กินอย่างไรก็ไม่อ้วน
มีงานวิจัยอะไรบ้าง
วารสาร Science ของปี 2021 มีบทความที่กล่าวถึงเรื่องของบทบาทของพันธุกรรมต่อโอกาสที่แต่ละคนจะอ้วนหรือไม่ อย่างน้อย 2 บทความคือ
o บทความเรื่อง Finding genes that control body weight กล่าวว่า โรคอ้วนเป็นโรคทั่วไปที่มีผลข้างเคียงที่สำคัญต่อการเจ็บป่วยและการตาย ซึ่งบางปัจจัยทางพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการกำหนดขอบเขตที่เมื่อร่างกายได้รับพลังงานแล้ว จะเก็บสะสมไว้เป็นไขมันหรือไม่ ปัจจัยเหล่านี้ มีผลกระทบต่อความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน บทความนี้ได้ระบุถึงการกลายพันธุ์ > 20 ยีน ที่มีผลกระทบอย่างมากต่อดัชนีมวลกาย (BMI)
o บทความงานวิจัยเรื่อง Sequencing of 640,000 exomes identifies GPR75 variants associated with protection from obesity (การอ่านลำดับพันธุกรรมของ exomes จากอาสาสมัคร 640,000 คน ระบุว่ายีน GPR75 เป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันโรคอ้วน)
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมใน คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย