หน้ากากอนามัยแบ่งได้เป็นกี่ชนิด
• ข้อมูลจาก อย.กล่าวว่า หน้ากากอนามัยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
o หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Medical mask) มีส่วนประกอบของคาร์บอน หรือที่มีวาล์วปิด หน้ากากอนามัยชนิด N95 หรือหน้ากากอนามัยชนิดใช้ครั้งเดียว ที่มีวัตถุประสงค์การใช้ทางการแพทย์ เช่น กรองหรือฆ่าเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย เฉพาะ Surgical mask เป็นต้น เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ต้องได้รับการอนุญาติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนการผลิตและนำเข้า
o หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง (Disposable dust mask) หรือมีส่วนประกอบของคาร์บอน หรือที่มีชนิดวาล์วปิด หน้กากชนิด N95 ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฝุ่นละออง, เกสรดอกไม้, หมอกควัน, หน้ากากใช้ในอุตสาหกรรม (Disposable mask for industry) หน้ากากใช้สวมป้องกันความร้อนและเปลวไฟขณะเกิดเพลิงไหม้ (Firefighter Mask) ไม่เข้าข่ายเป็นเครื่องมือแพทย์ตามพระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ไม่ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาก่อนการผลิตและนำเข้า
คำว่า medical mask, surgical mask และ procedure mask มีความหมายเหมือนกันหรือไม่
• คำจำกัดความของ WHO ในบทความเรื่อง Advice on the use of masks in the community, during home care and in health care settings in the context of the novel coronavirus (2019-nCoV) outbreak เมื่อ 29 มกราคม 2020 กล่าวว่า มีความหมายเดียวกัน
ตามสถานพยาบาลนั้น ในทางสากลแล้วควรใช้หน้ากากแบบใด
• หน้ากากมาตรฐานสำหรับใช้ในสถานพยาบาลคือ หน้ากาก N95 ซึ่งออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้สวมใส่โดยการกรองอนุภาคในอากาศขนาด 0.3 ไมโครเมตร (µm) และใหญ่ได้กว่าร้อย 95 แต่หน้ากากชนิดนี้บางครั้งขาดตลาดหรือมีราคาดูแพง จึงเกิดคำถามว่า ประชาชนควรใส่หน้ากากอนามัย (ตามความหมายที่ อย. กำหนด) หรือหน้ากากผ้าได้หรือไม่?
o SARS-CoV-2 มีขนาดแต่ละ particle ที่ 0.05-0.14 ไมโครเมตร (หรือ 50-140 นาโนเมตร) ซึ่งเล็กกว่ารูของ N95 อย่างไรก็ดี เท่าที่รู้กันนั้นไวรัสต้องอยู่กับฝอยน้ำลายเสมอ ไม่ได้อยู่เดี่ยว
o ขนาดของฝอยน้ำลายเดี่ยว ๆ ที่ไอออกมาอยู่ที่ 5-10 ไมโครเมตร ซึ่งใหญ่กว่ารูของ N95
o ดังนั้นหน้ากากที่มีขนาดรูบนวัสดุที่ใช้ผลิตเล็กกว่า 5 ไมโครเมตร เช่น 0.3 ไมโครเมตร ป้องกันฝอยน้ำลายได้
ฟังต่อใน คิดก่อนเชื่อ