อะไรคือ หลักฐานที่นำไปสู่ข้อสงสัยว่า สหรัฐอเมริกาและจีน น่าจะเกี่ยวข้องต่อการเกิดไวรัสก่อโรคโควิด-19
• ในช่วงปลายปี 2019 ทีมของนักวิทยาศาสตร์จีนนำโดย Dr. Shi Zhengli (ฉีเจิ้งลี่) ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาและรองผู้อำนวยการสถาบันไวรัสวิทยา ที่หวู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ย ทางตอนกลางของจีน ได้ทำถอดระหัสพันธุกรรมของ coronavirus ในค้างคาวถ้ำ (Chinese horseshoe bat) ที่จับได้ในมณฑลยูนนานทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนและพบว่าเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่
Dr. Shi Zhengli กล่าวว่า ตัวอย่างไวรัสที่ศึกษานั้นได้รับในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 จากนั้นจึงทำการถอดระหัสพันธุกรรมแล้วตั้งชื่อชั่วคราวว่า ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (novel coronavirus) โดยทางจีนได้แจ้งข้อมูลไปยัง WHO เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2020 และต่อมาในต้นเดือนกุมภาพันธ์จึงเริ่มพบว่า ไวรัสสายพันธ์ใหม่นี้มีความเชื่อมโยงกับอาการปอดบวมอย่างหนักของคนไข้ในของโรงพยาบาลที่หวู่ฮั่น
• นิตยสาร MIT Technology Review ฉบับวันที่ 29 มิถุนายน 2021 ได้ให้ข้อมูลย้อนหลังถึงความเกี่ยวข้องของ ดร. แบริค ที่นำมาสู่ความน่าสงสัยเกี่ยวกับต้นตอของ SARS-CoV-2 ในบทความเรื่อง Inside the risky bat-virus engineering that links America to Wuhan (ความเชื่อมโยงให้อเมริกาเกี่ยวข้องกับหวูฮั่นนั้นเกิดเนื่องจากความเสี่ยงของไวรัสในค้างคาวที่ถูกตัดแต่งพันธุกรรม) ซึ่งกล่าวว่า ดร.แบริค ได้ติดต่อกับ ดร.ฉี เพื่อขอตัวอย่างและข้อมูลพันธุกรรมของไวรัสดังกล่าวเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยและสร้างไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ภายในห้องปฏิบัติการ ที่สามารถแพร่เชื้อสู่มนุษย์ได้
o สุดท้ายมีการตีพิมพ์ข้อมูลความสำเร็จในการสังเคราะห์ไวรัสชนิดใหม่ซึ่ง ดร.แบริคและ ดร.ฉี มีชื่อเป็นผู้ร่วมวิจัยในวารสาร Nature Medicine ของปี 2015 เป็นบทความเรื่อง A SARS-like cluster of circulating bat coronaviruses shows potential for human emergence (ไวรัสโคโรนาที่มีลักษณะคล้ายกลุ่มไวรัสที่ก่อให้เกิดโรค SARS ในค้างคาวได้แสดงศักยภาพในการก่อโรคในมนุษย์)
ติดตามเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อ