การล้างจานให้สะอาดนั้นมีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค เพราะฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญกับการล้างจาน
งานวิจัยเรื่อง Microbiome analysis and confocal microscopy of used kitchen sponges reveal massive colonization by Acinetobacter, Moraxella and Chryseobacterium species ตีพิมพ์ออนไลน์ใน www.nature.com/scientificreports เมื่อปี 2017 ได้รายงานว่า นักวิจัยชาวเยอรมันได้ทำการวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียในฟองน้ำที่ใช้ในครัวของแม่บ้าน 14 ตัวอย่าง ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2012 ซึ่งได้ผลลัพธ์ที่น่าตกใจ
o พบแบคทีเรียชนิดต่างๆ ถึง 362 ชนิด ซ่อนในฟองน้ำ
o เฉลี่ยราว 4 หมื่น 5 พันล้านเซลล์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับที่พบได้ในตัวอย่างอุจจาระของมนุษย์โดยเฉลี่ย
• อาหารบางมื้อของคนไทย บางครั้งมีไขมันค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นกะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน ซึ่งอาจเลยไปถึง นมเนยและอื่น ๆ เพราะอาหารเหล่านี้อร่อย แต่เมื่อถึงเวลาล้างจานแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงในขั้นตอนแรกคือ
o กวาดเศษอาหารทิ้งในภาชนะที่เหมาะสม (เช่น ถุงพลาสติก ที่เราไปพลาดรณรงค์ให้ซูเปอร์สโตร์เลิกใช้ใส่อาหาร จนต้องเสียเงินไปซื้อถุงขยะเพิ่ม)
o ถ้าจานมีสิ่งเปรอะเปื้อนเป็นไขมัน ควรใช้กระดาษชำระเช็ดออกให้หมด เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ จะต้องใช้น้ำยาล้างจานปริมาณมาก และอาจต้องล้างซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
o ภาชนะที่จำเป็นต้องใช้กระดาษชำระเช็ดไขมันให้หมดจริง ๆ คือ กล่องใส่อาหารที่เป็นพลาสติก ซึ่งถ้ามีไขมันติดแล้วสัมผัสน้ำก่อนการล้างด้วยฟองน้ำและน้ำยาล้างจานแบบธรรมดานั้น มีโอกาสน้อยมากที่จะสะอาด
ฟังงานวิจัยซึ่งเป็นข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมกับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา