แอลกอฮอล์ในเลือดลดลง 15 เปอร์เซ็นต์ ในเวลา 1 ชั่วโมง เท่ากันทุกคนจริงหรือ มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง
• จากบทความเรื่อง Pharmacokinetics of Ethanol — Issues of Forensic Importance ในวารสาร Forensic Science Review ·ปี 2011 มีตอนหนึ่งให้ข้อมูลประมาณว่า มนุษย์มีลักษณะความแตกต่างทางพันธุกรรมที่เรียกว่า SNP (single nucleotide polymorphism) ซึ่งกำหนดความสามารถของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องต่อการขับออกของอัลกอฮอล์ว่าช้าหรือเร็ว อีกทั้งเอนไซม์ต่าง ๆ ถูกกระตุ้นให้มีปริมาณมากหรือน้อยนั้น ขึ้นกับปริมาณและความถี่ที่กินว่าเป็นประจำขนาดไหน พร้อมกับความแตกต่างในการขับอัลกอฮอล์ออกทางไต ทางเหงื่อ และลมหายใจ คนที่กินเป็นประจำจะต้องเพิ่มขนาดการกินขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เมาได้เท่าเดิม
• ตัวเลขที่กำหนดระดับของแอลกอฮอล์ในเลือดคนขับรถไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซนต์นั้น เป็นค่าเฉลี่ยจากการทดลองในคนไทยหลากหลายอาชีพ เช่น นักศึกษา พนักงานขับรถไฟ พนักงานขับรถเมล์ กรรมกรโรงงาน
• วันที่ 20 ส.ค. มูลนิธิเมาไม่ขับร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ( สสส.) และภาคีเครือข่ายรณรงค์ลดอุบัติเหตุภาครัฐ มีการนำอาสาสมัครมาร่วมทดสอบการหาค่าปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกาย ภายหลังการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อพิสูจน์การลดลงของปริมาณแอลกอฮอล์ต่อหนึ่งชั่วโมง และเพื่อยืนยันว่า คนที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกิน 389 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ไม่มีสติขับรถได้จริงหรือ
• การทดสอบเริ่มเมื่อ 10.30 น. ผลการเป่าวัดค่าแอลกอฮอล์ได้ 225 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อ 1 ชั่วโมงผ่านไป นำอาสาสมัครมาวัดค่าแอลกอฮอล์อีกครั้ง หากอ้างอิงตามสมมติฐานของผู้เชี่ยวชาญในคดีว่า แอกอฮอล์ลดลง 15% ต่อ 1 ชั่วโมง ปริมาณแอลกอฮอล์ของอาสาสมัครจาก 225 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ต้องเหลือประมาณ 191 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เมื่อผ่านไป 1 ชั่วโมง แต่จากผลการทดสอบพบว่า ไม่จริง เนื่องจากบางราย มีปริมาณแอลกอฮอล์ลดลงถึง 18% ใน 1 ชั่วโมง
• นพ.แท้จริงระบุด้วยว่า ผลการทดสอบที่ได้สรุปว่าไม่ใช่ทุกคนที่ปริมาณแอลกอฮอล์จะลดลง 15% เปอร์เซ็นต์ทุก 1 ชั่วโมง บางคนพบว่ายังลดลงมากถึง 50% ดังนั้น สมมติฐานที่ว่าลดลง 15% ทุก 1 ชั่วโมงนี้ ต้องรื้อใหม่หมด