Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / พาราควอตเป็นสาเหตุให้เนื้อเน่า จริงหรือ
12:57
พาราควอตเป็นสาเหตุให้เนื้อเน่า จริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
พาราควอตเป็นสาเหตุให้เนื้อเน่า จริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 02 ก.ย. 63
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สารพาราควอต ส่งผลต่อผู้ใช้ เช่นคนฉีดพ่น หรือเกษตรกรอย่างไร

•   ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ Thai Civil Rights and Investigative Journalism (TCIJ) ที่เชียงใหม่ ให้ข้อมูลเมื่อ 25 มี.ค. 2561 ว่า 
    o  งานวิจัยท้องถิ่น จ.หนองบัวลำภู ที่ได้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พบการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชเกินอัตราแนะนำ 4-8 เท่า ทั้งจังหวัดใช้พาราควอต 8 แสนลิตรต่อปี การเจ็บป่วยในพื้นที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณการใช้สารเคมี พบผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าระหว่างปี 2556 - 2560 สะสมสูงถึง 1,065 ราย 
    o  จ.หนองบัวลำภู มีผู้ป่วย ‘โรคเนื้อเน่า’ (Necrotizing fasciitis) เฉพาะโรงพยาบาล จ.หนองบัวลำภู นับตั้งแต่ปี 2553 มีผู้ป่วยไม่ต่ำกว่าปีละ 120 คน และเกือบร้อยละ10 ของผู้ป่วยจะพิการและเสียชีวิต 
    o  สถิติทั้งจังหวัดมีผู้ป่วยโรคเนื้อเน่าสะสมระหว่างปี 2556-2560 จำนวน 1,065 คน และพบผู้ป่วยโรคผิวหนังมากสุดช่วงเดือน มิ.ย.- ก.ค. 
    o  ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษามักมีการสัมผัสกับน้ำในลำน้ำ นาข้าว หรืออ่างเก็บน้ำเป็นเวลานาน หลายรายมีบาดแผลในบริเวณแขน ขา จากการทำงานและไปล้างตัวในแหล่งน้ำที่รองรับสารเคมีทางการเกษตร 
    o    แพทย์ได้วินิจฉัยถึงการเป็นโรคที่มาจากแบคทีเรียเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งอยู่ในกลุ่มของแบคทีเรียชนิดไม่ใช้อากาศ เช่น Bacteroides fragilis, Clostidium spp, Pepto Streptococcus และแบคทีเรียชนิดใช้อากาศ เช่น E.Coli, Enterobacter spp., Klebsiella spp., Proteus spp., non- group A streptococcus spp. ซึ่งรวมถึงแบคทีเรีย Aeromonas hydrophila (It can survive in aerobic and anaerobic environments) ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ แบคทีเรียเหล่านี้มักพบในแหล่งน้ำจืด

•    หลักฐานว่า พาราควอต ทำให้ระบบภูมิต้านทานต่ำลง ซึ่งส่งผลให้การติดเชื้อง่ายขึ้นได้ เช่น
    o  บทความเรื่อง Effect of acute and chronic toxicity of paraquat on immune system and growth performance in rainbow trout, Oncorhynchus mykiss ในวารสาร Aquaculture Research, 2014 ให้ข้อมูลว่าภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดซึ่งเรียกว่า Innate immunity ซึ่งไม่จำเพาะต่อเชื้อโรคใดและเป็นด่านแรกในการต่อสู้และป้องกันเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย ได้แก่ lysozyme ระบบ complement และ โปรตีนที่เป็นแอนติบอดีถูกกดให้ต่ำลงโดยพาราควอต

แต่อีกด้านหนึ่ง ก็มีข่าวเมื่อ 22 ก.ค. 2563 มีบทความเรื่อง เนื้อเน่าไม่เกี่ยวพาราควอต ว่า สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยได้ออกมาเรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายทบทวนมติ 
    o  เหตุผลหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการประกาศ ห้ามมี ห้ามใช้พาราควอต มาจากข้อมูลของกลุ่มเอ็นจีโอ ที่อ้างว่า ทุกฤดูฝนเกษตรกรในพื้นที่ ต.บุญทัน อ.สุวรรณคูหา จ.หนองบัวลำภู จะป่วยด้วยโรคเนื้อเน่าปีละ 50 คน บางคนถึงกับต้องตัดขาทิ้ง สาเหตุมาจากเดินเหยียบย่ำแปลงทำการเกษตรที่มีการใช้พาราควอต พร้อมกับมีงานวิจัยระบุว่า ในแหล่งน้ำพื้นที่ดังกล่าวพบพาราควอตตกค้างมากถึง 26.8-55.41 มิลลิกรัมต่อลิตร
    o  คณะกรรมการวัตถุอันตรายเคยมีคำสั่งให้กรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมลงพื้นที่ไปตรวจสอบ  ผลการเก็บตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ ทั้ง 2 หน่วยไม่พบการปนเปื้อนของพาราควอต (It is partially inactivated upon contact with soil.)
    o  สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทยเมื่อ 9 ธ.ค.2562 ได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินและน้ำส่งให้ห้องแล็บตรวจวิเคราะห์ ผลปรากฏว่าดินและน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง ไม่พบพาราควอต มีเพียงอ่างเก็บน้ำห้วยโซ่ พบ แบคทีเรียกินเนื้อคน (Aeromonas hydrophila) ทั้งในดินและน้ำ

มีงานวิจัยอะไรอีกที่เกี่ยวกับพาราควอต ฟังใน คิดก่อนเชื่อ 


 

ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป