จุฬาราชมนตรีได้ออกประกาศให้วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2564 ที่ผ่านมา ตรงกับวันที่ 1 ของ เดือนเซาวาล (วันอีฏิ้ลฟิตริ) หรือวันฮารีรายา/ฮารีรายอ
ฮิจเราะห์ศักราช 1442 เป็นวันแรกของการออกจากเทศกาลถือศีลอด เป็นวันที่สำคัญสำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบประจำปีในเดือนรอมมฎอนเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม เพื่อขัดเกลาตนเองทั้งกายใจ ถือเป็นวันแห่งเทศกาลการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ของพี่น้อง มุสลิมในประเทศไทย หากแต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่างๆ ทำให้ผู้คนต้องปฏิบัติตามมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคและปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติศาสนกิจใหม่ที่ผิดแผกไปจากเดิม ซึ่งเคยมีคุณค่าดั่งวันเฉลิมฉลองเทศกาลขึ้นปีใหม่ ปกติจะมีการจับจ่ายกันอย่างคึกคัก มีการบริจาคทานแก่บรรดาผู้ที่ขัดสนควบคู่ไปกับการละหมาดอีด ทุกครัวเรือนจะมีความอบอุ่นไปด้วยบรรดา ลูกหลานกลับบ้าน ไปเยี่ยมเยียนพ่อแม่ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน ขอภัยต่อกันในสิ่งที่ผ่านมา มีการแสดงออกด้วยการสวมกอด การจูบมือ การหอมแก้มเป็นการแสดงความรัก แต่ปีนี้ไม่เหมือนเดิม อันที่จริงก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ปีที่แล้วจากการแพร่ระบาดของโรโรน่าไวรัสทั่วโลก
รายการเพลงดนตรีวิถีอาเซียนวันนี้บันทึกร่องรอยของบทเพลงฮารีรายาอีฎิลฟิตรีในประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย กับการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินที่ใช้ชีวิตในช่วงเวลาที่ถูกผลก ระทบอย่างรุนแรงจากcovid-19 มีผลต่อเนื้อหาของเพลง การออกแบบดนตรีการส่งเสียงขับขาน กระทั่งการแสดงออกในสื่อมัลติมีเดีย ถือเป็นปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ที่ควรศึกษา และทำความเข้าใจ เพื่อความเข้มแข็งในการในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไป และไม่หวังให้ฝันร้ายนี้กลับมาอีก