“ซอพม่า” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ซอเจ้าสุวัตร-นางบัวคํา” (จากวรรณกรรมของท้าวสุนทรพจนกิจ) เป็นหนึ่งในท่วงทํานองเพลงพื้นเมืองล้านนาที่ได้รับความนิยมนําไปขับซอพรรณาหรือซอโต้ตอบและการบรรเลง ล้วนมีโครงสร้างทํานองที่พ้องกับเพลง “พม่ารําขวาน” ของปี่พาทย์ภาคกลางและ “พม่ารําขวาน-เต้ยพม่า” ของดนตรีพื้นเมืองอีสาน เนื่องจากตัวเพลงซอพม่าของล้านนาเป็นเพลงสั้นๆ ท่วงทํานองไม่ซับซ้อน จดจําง่าย จึงได้มีผู้นําไปใช้งานกันอย่างกว้างขวาง กระทั่งในโลกของพ็อพคัลเจอร์
.
น่าสนใจว่าในกลุ่มเพลงโฟล์คซองคําเมืองของจรัล มโนเพ็ชร มีปรากฏร่องรอยของการประยุกต์ใช้เพลงซอพม่ามากที่สุดในกลุ่มเพลงพื้นเมืองต่างๆ ได้แก่ซอของแปง (ร้องคู่จรัล-สุนทรีเวชานนท์อัลบั้มลูกข้าวนึ่ง 2424), ยินดีต้อนรับ (ร้องคู่จรัล-สุนทรีเวชานนท์อัลบั้มฉันมีความรักมาให้ 2531), แอ่วสาว (ร้องเดี่ยว จรัล มโนเพ็ชร อัลบั้มลักเตี่ยว พ.ศ.2533), อาขยานล้านนา (ร้องเดี่ยว จรัล มโนเพ็ชร อัลบั้มโฟล์ค1991 พ.ศ.2534) นอกจากนี้การสร้างสรรค์จาก เพลงซอพม่าก็ยังปรากฏในงานของกิจจา โนเพชร (กําบะเก่า) หรือแม้แต่สุนทรีเวชานนท์ก็นําไปขับร้องในบทเพลง เจ้าจันทร์ผมหอม (พ.ศ.2541) ด้วยเช่นกัน
.
#เพลงดนตรีวิถีอาเซียน ตอนนี้ จะนำเสนอเพลงซอพม่าที่ปรากฏในงานเพลงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เพลงพื้นบ้านกัน