ร่องรอยการเดินทางของสมัย อ่อนวงศ์ที่ฝากไว้ในเสียงร้องและเสียงแคน เขาคือหนึ่งในศิลปินไทยที่ล่องเรือข้ามแม่น้ำโขงครั้งแล้วครั้งเล่าก่อนที่จะเกิดสะพานมิตรภาพเพื่อไปสร้างความสุขความบันเทิงให้พี่น้องชาวลาว จนเกิดอนุสรณ์เพลงรักที่เป็นบทบันทึกอารมณ์ความรู้สึกแห่งการเดินทางมากมายโดยปลายปากกาของบรรดาครูเพลงในขณะนั้น ครูกานต์ การุณวงศ์ ครูณรงค์ โกษาผล ครูไพบูลย์ บุตรขัน ครูสุรินทร์ ภาคศิริ จนถึงการเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรม เพลงแคนถึงญี่ปุ่น ก็ยังมีเพลงลูกทุ่งชมดอกซากุระที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นหลักในการร้องจากฝีมือของครูสุรินทร์ภาคสิริ
มิใช่แต่เพียงบทเพลงแห่งการเดินทางที่สมัย อ่อนวงศ์ขับร้องเอาไว้แต่ฝ่ายเดียว แต่เหล่าครูเพลงก็ยังเปิดโอกาสให้นักร้องหญิงหลายคน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสาวลาว สาวญี่ปุ่น ร้องเพลงโต้ตอบกับหนุ่มไทยด้วยภาษารักที่อยู่เหนือกำแพงภาษาการเมืองวัฒนธรรมความเชื่อ เป็นเพลงที่หนุ่มสาวในอดีตสื่อสารกันด้วยหัวใจอภิรมย์และห่วงหาอาวรณ