บทความ /
ทำบุญปล่อยปลาอย่างไร ให้ได้บุญแทนบาป
Health
ทำบุญปล่อยปลาอย่างไร ให้ได้บุญแทนบาป
27 เม.ย. 63
41,039
แชร์
การทำบุญในสังคมไทย มีหลากหลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมนั้นคือ การทำบุญปล่อยนกปล่อยปลาที่มาพร้อมกับความเชื่อ ทั้งเรื่องโชคลาภ หน้าที่การงาน ความราบรื่นในชีวิต หรือแม้กระทั่งเพื่อสะเดาะเคราะห์ โดยเฉพาะการปล่อยปลา เป็นวิธีการทำบุญที่ได้รับความนิยมอย่างมาก
ตามท่าน้ำต่าง ๆ ที่เป็นจุดทำบุญปล่อยปลา โดยเฉพาะบริเวณวัดที่ติดกับแม่น้ำลำคลอง จะมีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งร้านชั่วคราวจำหน่ายปลาหลากหลายชนิด แต่การจะเลือกชนิดปลาและพื้นที่ที่จะปล่อยอย่างไร เมื่อปล่อยแล้วสัตว์น้ำสามารถมีชีวิตต่อ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำท้องถิ่นของไทย
วิธีการปล่อยปลา
- ไม่ปล่อยสัตว์ต่างถิ่น หรือ เอเลียนสปีชีส์
- ไม่ปล่อยในปริมาณที่มากจนเกินไป
- คัดเลือกสถานที่ปล่อยให้เหมาะสมกับชนิดของปลา
- ควรปล่อยในแหล่งน้ำตื้นหรือลึกระดับปานกลาง (ระดับเอวถึงหน้าอก)
- ไม่ปล่อยในแหล่งที่มีน้ำเชี่ยว
- ปล่อยในแหล่งที่มีพืชน้ำ เพื่อเป็นที่หลบภัย, อาหาร หรือเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
- ปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการไหลเวียนของน้ำ หรือที่มีน้ำสะอาด
สำหรับปลาที่ควรปล่อยและไม่ควรปล่อย
- ปลาที่แนะนำให้ปล่อยในแหล่งน้ำของประเทศไทย ควรเป็นปลาพื้นเมืองของไทย เช่น ปลาตะเพียนขาว, ปลาตะเพียนทอง, ปลาแก้มช้ำ, ปลาสร้อยขาว, ปลาหมอไทย, ปลายี่สกไทย, ปลากราย, ปลาโพง และปลาบึก
- สัตว์น้ำตามความเชื่อที่ไม่ควรปล่อยเด็ดขาด (เอเลี่ยน สปีชีย์) เช่น ปลาดุกอัฟริกัน หรือปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย), กุ้งเครย์ฟิซ, เต่าญี่ปุ่นหรือเต่าแก้มแดง, ปลาหางนกยูง, ปลากดเกราะดำและปลากดเกราะลาย, ตะพาบไต้หวัน, ปลาทับทิม, ปลานิล และปลาหมอสีคางดำ
ปลาเศรษฐกิจบางชนิดเหมาะสำหรับเลี้ยงแบบบ่อปิดเท่านั้น เช่น ปลานิล, ปลาทับทิม, ปลาหางนกยูง และปลาดุกบิ๊กอุย
ข้อมูลโดย
1. ผศ.ดร.ทิลดิสร์ รุ่งเรืองกิจไกร | ฝ่ายประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. กรมประมง
บทความอื่นๆ