พ.ศ.2561 องค์กรยูเนสโกประกาศให้ดอนดังซายัง Dondang Sayang เป็นหนึ่งในศิลปะการแสดงที่สมควรได้รับการ ยกย่องในฐานะมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage - ICH) ของชุมชนมา เลย์ชุมชนบาบ๋าย่าหยา ชุมชนโปรตุเกส ในเขตมะละกา ประเทศมาเลเซีย เป็นปีเดียวกันกับที่โขนของไทย ละครโคล ของกัมพูชา และเร็กเก้ของจาไมก้าได้รับการประกาศ ICH อย่างน่าภาคภูมิใจเช่นกัน
.
ดอนดังซายัง มีความหมายว่า “เพลงรักเพลงกวี” มีต้นกำเนิดในมะละกาเมื่อประมาณคริสศตวรรษที่ 15 โดยได้รับ อิทธิพลจากดนตรีพื้นบ้านโปรตุเกสแบบดั้งเดิมผสมผสานกับดนตรีอาหรับและดนตรีพื้นเมืองมาเลเซีย โดยนักร้องบา บาย่าหยาจะร้องเพลงที่มีคำสัมผัสที่เรียกว่า “ปันตุน” (บทกวีของมาเลย์) มีเครื่องดนตรีไวโอลิน แอคคอเดียน แมนโด ลิน กลองเรอบานาและฆ้องแขวนเตตาวัก บรรเลงประกอบ เนื้อหาของเพลงมีทั้งความรัก เกี้ยวพาราสีใช้ภาษาที่ งดงาม คารมคมคาย ในแบบด้นสดและบทกวีวรรคทองมาใช้ในการแสดง อาจมีการร่ายรำประกอบตามสมควร
.
ตัวอย่างงานบันทึกเสียงดอนดังซายังครั้งนี้คัดสรรผลงานนักร้องเพลงพ็อพมาเลย์ในตำนาน ตันศรีพีรามลี A. Ramlie, Sanisah Huri, Datuk Sharifah Aini, Ahmad Yusoh, Chik mohd Amin, Rahim Jantan จนถึง Noraniza Idris ขับขานเพลงดอนดังซายังในรูปแบบต่างๆให้ได้ศึกษาเปรียบเทียบกัน