จากกรณี Consumer Council Hong Kong (สภาผู้บริโภคฮ่องกง) ได้รายงานผลทดสอบสารอะคริลาไมด์ (acrylamide) ในกาแฟ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคถึงความเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์กาแฟที่วางจำหน่ายในฮ่องกงได้ระมัดระวังในการเลือกซื้อกาแฟ เพราะอะคริลาไมด์ถูกจัดให้เป็นสารพิษก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง
สารอะคริลาไมด์เกิดได้อย่างไร และจากอาหารอะไรบ้าง
สารอะคริลาไมด์เกิดระหว่างการปรุงอาหารโดยใช้วัตถุดิบ เช่น มันฝรั่ง (หรือวัตถุดิบอื่นที่มีกรดอะมิโนแอสปาราจีนสูง) ด้วยความร้อนอุณหภูมิสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส โดยผลิตภัณฑ์อาหารมักพบอะคริลาไมด์ปนเปื้อน ได้แก่ มันฝรั่งทอด แครกเกอร์ บิสกิต มะกอกดำ ลูกพลัมแห้ง ลูกแพร์แห้ง กาแฟคั่ว
สำหรับประเทศไทยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำฐานข้อมูลอาหารไทยที่มีการตรวจพบสารอะคริลาไมด์โดยพบว่า พริกป่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ขนมถุงที่ทำจากแป้งมันฝรั่ง ขนมถุงที่ทำจากมันฝรั่งทอดหรือเฟรนซ์ฟรายด์ กาแฟสำเร็จรูปและเผือกฉาบ แต่เป็นการพบสารพิษในในระดับก่อความเสี่ยงในระดับต่ำกว่าระดับที่จะเกิดพิษต่อร่างกาย
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานการปนเปื้อนของสารอะคริลาไมด์ในกาแฟ จึงจำเป็นต้องอาศัยเกณฑ์ของสหภาพยุโรปที่กำหนดปริมาณอะคริลาไมด์ไว้ไม่เกิน 400 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟคั่ว และไม่เกิน 850 ไมโครกรัม/กิโลกรัมสำหรับกาแฟผงสำเร็จรูป
แต่เพื่อความปลอดภัยในการดื่มกาแฟ เรามีข้อมูลซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการคั่วกาแฟและการเกิดสารอะคริลาไมด์ มาให้ฟัง เพื่อจะได้รู้ทันและคำแนะนำการเลือกซื้อกาแฟ ฟังกันในช่วง คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย