การตรวจวัดการติดเชื้อ COVID-19 นั้นทำได้ 2 วิธีคือ
o การตรวจการปรากฏของเชื้อไวรัสหลังติดเชื้อราว 2-3 วันโดยการตรวจสอบหาหน่วยพันธุกรรมด้วยวิธี RT-PCR ในเสมหะที่กวาดจากคอหรือในโพรงจมูก ซึ่งเป็นวิธีที่ WHO รับรอง ปัจจุบันมีการพัฒนาให้การตรวจสอบได้ผลเร็วขึ้นจากเดิม 2-3 วัน เป็น 5 นาทีของ Abbott, 30 นาทีของ Mess Biotech และ 45 นาทีของ Cephied
o การตรวจสอบหาแอนติบอดีทั้ง IgM และ IgG จากหยดเลือด หลังร่างกายได้รับเชื้อเข้าไปประมาณ 5 - 7 วัน ตามหลักการของ Elisa (Enzyme-linked Immunosorbent Assay)
o ปัจจุบันได้เพิ่มเติมการตรวจสอบในน้ำลายของผู้ต้องสงสัยด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเริ่มโดย Rutgers University ร่วมกับ Accurate Diagnostic Labs และ US.FDAได้ รับรองเป็นรายแรก และคงมีตามมาเรื่อย ๆ
o อย่างไรก็ตาม ทุกการตรวจสอบต้องทำให้ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง
มีข่าวเกี่ยวกับการพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 เพื่อให้ตรวจได้รวดเร็วของหน่วยงานต่างๆ ออกมามากมาย และมีโฆษณาขายชุดตรวจ คำถามคือมันได้ผลจริงแม่นยำหรือไม่ และถ้าเราไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์หรือนักเทคนิคการแพทย์ จะอ่านค่าแปลผลได้อย่างไร
ฟังข้อมูลงานวิจัยจาก ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ที่จะไปค้นงานวิจัยมาอธิบาย ในคิดก่อนเชื่อ