Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / คิดก่อนเชื่อ / ผู้ติดเชื้อ SAR-CoV-2 บางคนไม่มีอาการได้จริงหรือ
14:09
ผู้ติดเชื้อ SAR-CoV-2 บางคนไม่มีอาการได้จริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
ผู้ติดเชื้อ SAR-CoV-2 บางคนไม่มีอาการได้จริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 04 ม.ค. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

ทำไมคนที่ได้รับเชื้อ SARS-CoV-2 หรือ COVID-19 มีอาการต่างกัน หรืออาจไม่มีอาการเสียด้วยซ้ำ

o  มีข่าวน่าสนใจที่ตีพิมพ์เป็นงานวิจัยเรื่อง Preexisting and de novo humoral immunity to SARS-CoV-2 in humans ในวารสาร Science ของปี 2020 ที่พยายามให้คำอธิบายว่า ประชากรของโลกบางคนนั้นมีแอนติบอดีที่สามารถจัดการกับไวรัส SARS-CoV-2 ได้ ทั้งที่คนคนนั้นไม่เคยป่วยเพราะรับเชื้อดังกล่าวมาก่อน 

o  ข้อมูลนั้นได้จากการวิเคราะห์เลือดที่ได้รับบริจาคก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 โดยนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่สถาบัน Francis Crick Institute ในกรุงลอนดอนที่ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานจาก University College London ของสหราชอาณาจักร 

o   นักวิจัยกลุ่มดังกล่าวจริงแล้ว ได้ตั้งใจพัฒนาวิธีการทดสอบเพื่อตรวจวัดหาแอนติบอดีในเลือดที่มีปฏิกิริยาต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ให้ไวขึ้นกว่าวิธีเดิม โดยหวังว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบปริมาณแอนติบอดีของผู้ป่วยที่ฟื้นจากอาการป่วยว่า มีแอนติบอดีอยู่ในร่างกายได้นานเพียงใดหลังจากหายดีแล้ว ซึ่งในการศึกษานั้น จำต้องมีการตรวจสอบมาปริมาณแอนติบอดีจากน้ำเลือดของคนที่ไม่ได้สัมผัสเชื้อมาก่อนเลย เพื่อใช้เป็นกลุ่มควบคุมชนิดที่เรียกว่า negative control แต่ปรากฏว่าน้ำเลือดจากกลุ่มควบคุมดังกล่าวนั้นบางตัวอย่างถูกตรวจพบว่ามีระดับแอนติบอดีที่ต่อต้าน SARS-CoV-2 ในขนาดที่น่าสนใจต่างจากคนปรกติทั่วไป

o  สมมุติฐานคือ การสัมผัสไวรัสกลุ่มโคโรนาไวรัสอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการหวัดธรรมดา (common cold) นั้นเป็นตัวกระตุ้นให้ประชากรบางคนมีแอนติบอดีต่อไวรัสที่ก่ออาการหวัดธรรมดา แต่แอนติบอดีนั้นไม่ได้มีความจำเพาะแบบ 100% กล่าวคือ สามารถทำปฏิกิริยากับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคอื่นซึ่งรวมทั้ง COVID-19 ด้วย ปรากฏกรณ์นี้เรียกว่า immune cross-reactivity ซึ่งเป็นลักษณะการต้านเชื้อข้ามสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาเพราะเหล่าโคโรนาไวรัสนั้น ต่างก็มีตุ่มโปรตีน (spike protein) บนผิวหน้าของตัวไวรัสที่แม้ต่างสายพันธุ์อาจมีสัณฐานของตุ่มโปรตีนดูคล้ายกันในภาพรวม จนทำให้แอนติบอดีสัมผัสได้ว่าเป็นไวรัสเดียวกัน
คลิกฟังงานวิจัยเพิ่มเติม ใน คิดก่อนเชื่อ  กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะค้นงานวิจัยที่ตีพิมพ์แล้ว มาอธิบายให้เข้าใจแม้ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป