• การใส่สายสวนหัวใจด้านขวา (Pulmonary artery catheter) เป็นการวัดอุณหภูมิร่างกายที่ถูกต้องที่สุด รองลงมาคือ วัดทางทวารหนักและปาก
• แล้วเครื่องวัดอุณหภูมิที่หน้าผาก ซึ่งนิยมใช้กันมากในขณะนี้ ได้ผลดีหรือไม่ในการคัดกรองผู้ติดเชื้อ
• เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก (Temporal Artery Thermometer) ถูกพัฒนาขึ้นให้มีเซ็นเซอร์วัดรังสีอินฟราเรดที่ผิวหนังซึ่งแผ่ออกมาจากเส้นเลือดที่หน้าผาก เพื่อลดโอกาสติดเชื้อในการวัดอุณหภูมิเพื่อคัดกรองผู้ป่วยจำนวนมาก มีหน้าจอแสดงผลเป็นตัวเลข
• ข้อดีคือ เร็ว สามารถคัดกรองคนจำนวนมาก ส่วนข้อควรระวังคือ บุคคลากรต้องรู้วิธีใช้เช่น ระยะห่างจากหน้าผากที่ถูกต้อง การปรับเครื่องให้เข้ากับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อมก่อนใช้ตามคู่มือการใช้งานอย่างเคร่งครัด และการตรวจสอบความแม่นยำเป็นระยะ ๆ จากผู้เชี่ยวชาญในเครื่องมือนั้น (ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร และเครื่องมือแต่ละชิ้นนั้นใครรับรองคุณภาพความเสี่ยงตรง)
• มีผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศเตือนว่า การใช้เครื่องวัดไข้แบบยิงที่หน้าผากอาจเชื่อถือไม่ได้ เพราะอุปกรณ์ด้อยประสิทธิภาพหรือการวัดไม่ถูกวิธี เสี่ยงทำให้ผู้ป่วยที่ติดไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หลุดรอดการตรวจได้
ฟังรายละเอียดการวิจัยเป็นอย่างไร คลิกฟังในคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยาและนักวิจัย ที่จะอ่านและอธิบายงานวิจัยที่หน่วยงานต่างๆ ที่ตีพิมพ์แล้ว