ความรักข้ามพรมแดนระหว่างหนุ่มไทยกับสาวกัมพูชา เปล่งประกาศผ่านเสียงเพลงลูกทุ่งมายาวนานกว่าห้าทศวรรษนับตั้งแต่ พ.ศ.2515 ที่บทเพลงดัง “กัมพูชาที่รัก” ของครูฉลอง ภู่สว่าง ขับร้องโดยภูษิต ภู่สว่าง ทำหน้าที่ประเดิมเวทีให้เกิดการสร้างสรรค์เพลงรักท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องอีกมากมาย ทั้งเพลงที่ขับร้องโดยนักร้องลูกทุ่งที่เป็นตัวแทนภาคกลางและตัวแทนคนกรุงเทพ จนขยายไปสู่นักร้องสายอีสาน ทั้งอีสานใต้ (กันตรึม) และอีสานเหนือ (หมอลำ) ที่ต่างประยุกต์ใช้วัตถุดิบทางศิลปะพื้นบ้านที่เป็นรากของตน ผลิตงานเพลงหนุ่มชาวไทยบอกรักสาวชาวกัมพูชากันขึ้นมาอีกมากมาย เชื่อว่าเพลงเหล่านี้แหละคือ soft power แห่งการสร้างสันติภาพและสื่อความรักที่ผลิบานมาเป็นการร่วมใช้ชีวิตคู่ของครอบครัวไทย-กัมพูชาที่จริงแท้ยิ่งกว่านโยบายกลวงๆของภาครัฐ
.
กรณีตัวอย่างงานเพลงรักสาวกัมพูชาที่คัดสรรมาใน ep.นี้อาทิพนม นพพร (กึ๊ดดอนกัมพูชา), ศักดิ์สยาม เพชรชมพู (ธิดากำปงจา), ยิ่งยง ยอดบัวงาม (รักสาวสะเราะแอง), สันติดวงสว่าง (รักสาวขะแมร์), สมานชัย เสียงระทม (รักสาวกำปงจาม), ร็อคคงโคย (เกี้ยวสาวเขมร), สังคม ยอดนิยม ร็อคเอ๊าะเยาะ (เนียงโมปีนา), สลัก ศิลาทอง (หนุ่มลาวจีบสาวเขมร), จ่าส่ง ร็อคออนซอน (จีบสาวขะแมร์), บอส นวพล (มักสาวเขมร) ฯลฯ