การเดินทางของคณะวงดนตรีกาเมลัน (gamelan) จากอินโดนีเซียไปยังยุโรป การแสดงของคนดนตรีอินโดนีเซียต่อหน้าเจ้าอาณานิคมในเทศกาลสินค้านานาชาติ ณ กรุงปารีสปี 1889 ที่เข้าไปประทับรอยความทรงจำในหัวใจของเด็กหนุ่มนักเปียโนชาวฝรั่งเศส Claude Debussy จนเกิดสร้างสรรค์ดุริยวรรณกรรมใหม่
.
สำหรับเปียโน มีทั้งการผลิตสุ้มเสียงแปลกใหม่จนถึงแนวทางของการประสานเสียงที่พลิกผันประวัติศาสตร์ดนตรีเดิมกลายเป็นตำนานเล่าขานกันสืบมาในฝั่งของโลกดนตรีคลาสสิค แต่เรื่องราวของกาเมลันมิได้หยุดเพียงนั้น ยังมีบทสนทนาต่อเนื่องระหว่างดุริยกวีอีกหลายคนที่ได้สดับและสัมผัสกาเมลันในแง่มุมที่แตกต่างไป ทั้งการฟังโดยตรง การเรียนกาเมลัน การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมกาเมลันจริงจัง และถ่ายทอดประสบการณ์อารมณ์ความรู้ในทิศทางของตนที่กลายเป็นหมุดหมายความทรงจำที่น่าสนใจไม่แพ้เดอบุสซีเลย
.
การไหว้ครูบาอาจารย์ครั้งนี้คัดเลือกชิ้นงานคีตนิพนธ์ที่มีกาเมลันเป็นวัตถุดิบสำหรับการสร้างสรรค์เพลงเปียโนที่สำคัญๆมาประเดิม ตั้งต้นด้วยงาน Pagodes ของ Debussy มาตั้งต้น แล้วขยายต่อไปที่ Leopold Godowsky (Java Suite), Colin McPhee (Balinese Ceremonial Music), Lou Harrison (Varied Trio), John Cage (Prepared Piano) และ Gareth Farr (Balinese Pieces) โดยหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้สนใจต่อไป