ถ้าพูดถึงภาพยนตร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “หนัง”
"เราคิดถึงอะไรบ้าง"
บางคนอาจนึกถึงภาพที่ตากล้องถ่ายทอดออกมาอย่างงดงาม บทภาพยนตร์ที่เป็นตัวกำหนดเนื้อเรื่องทั้งหมด หรือแม้แต่นักแสดงผู้ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านหน้ากล้อง แต่อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ สิ่งที่ช่วยเร้าอารมณ์และเป็นเครื่องปรุงชั้นดีให้กับหนังเรื่องนั้น ๆ ก็คือ “ดนตรีประกอบ” วันนี้ผมจะชวนมาทำความรู้จักกับเครื่องปรุงชนิดนี้กันให้เข้าใจและรู้จักมากขึ้นนะครับ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ (Soundtrack) คือ ดนตรีที่บันทึกเสียงหรือเล่นเพื่อประกอบกับเรื่องราวในหนังที่กำลังดำเนินอยู่ มีพัฒนาการควบคู่มาพร้อม ๆ กับภาพยนตร์ เริ่มจากการใช้วงดนตรีทั้งวงบรรเลงสด ไปพร้อมกับภาพยนตร์ที่กำลังฉาย เพราะเทคโนโลยีในยุคนั้นยังไม่สามารถบันทึกเสียงลงบนแผ่นฟิล์มได้ กระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มีการทดลองเพื่อหาวิธีบันทึกเสียงไปพร้อมกันจนทำได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง “The Jazz Singer"
ลองจินตนาการว่า หนังสยองขวัญจะเป็นเช่นไร หากไม่มีดนตรีมาเร้าอารมณ์ตื่นเต้น กดดัน หนังรักโรแเมนติกจะเป็นแบบไหน ถ้าไม่มีเพลงที่ถ่ายทอดความรักของคู่พระนางได้อย่างหวานซึ้ง หรือ หนังแอคชั่นจะน่าเบื่อขนาดไหนถ้าไม่มีดนตรีตื่นเต้น ประกอบฉาก ท่วงท่าลีลาบู๊ล้างผลาญของพระเอกหรือผู้ร้าย แต่หนังบางเรื่องที่ผู้กำกับตั้งใจไม่ใส่ดนตรีประกอบเพื่อเหตุผลบางอย่างเช่น
“The Blair Witch Project”
ตำนานหนังสยองขวัญ ที่ตัวภาพยนตร์เล่าว่าสิ่งที่ผู้ชมกำลังชม. อยู่เป็นเทปที่กลุ่มนักศึกษาวิชาภาพยนตร์หายตัวไปอย่างลึกลับ. ทำตกไว้ หนังเรื่องนี้ตั้งใจไม่ใส่ดนตรีหรือเพลงใด ๆ ลงไปเลย เพราะมันเป็น “เทปบันทึกที่เก็บได้กลางป่า” ซึ่งช่วยเพิ่มความ. สมจริงให้กับหนังมากยิ่งขึ้น
“No Country for Old Men”
หนังระดับรางวัลออสการ์ ที่ผู้กำกับ 2 พี่น้องตระกูล Coen (Joel และ Ethan) จงใจไม่ใส่ดนตรีประกอบเข้าไปตรง ๆ แต่แอบใส่. เสียงผ่าน องค์ประกอบในฉากต่าง ๆ เช่น เครื่องเสียงในบ้านตัว ละคร หรือ วิทยุในรถยนต์
ดนตรีประกอบภาพยนตร์แต่ละเรื่องช่วยสร้าง อารมณ์ ความรู้สึกและบรรยากาศ หรือแม้แต่ช่วยเสริมจินตนาการแก่ผู้ชมให้แจ่มชัดมากยิ่งขึ้น บางครั้งถึงขั้นสามารถบอกเล่าเรื่องราวของหนังเรื่องนั้น ๆ ได้ล่วงหน้าตั้งแต่ยังไม่ได้ชมเสียด้วยซ้ำ
รายการ Gen Z & Classical Music ทาง Thai PBS Podcast โดย คุณณัฏฐา ควรขจร ชวนมาติดตามฟังเรื่องราวเจาะลึก เบื้องหลังของดนตรีประกอบภาพยนตร์แต่ละตอนแต่ละท่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร โดยเฉพาะผลงานของคนไทยที่ไปสร้างชื่อในเวทีระดับโลก 2 คน คือ
พันธวิต เคียงศิริ
นักประพันธ์ดนตรีประกอบชาวไทยที่ฝากผลงานในเวทีระดับโลกหลายชิ้น และเป็น ลูกศิษย์ของคริสโตเฟอร์ ยัง นักประพันธ์ดนตรีประกอบระดับ. ตำนานของโลก
ฟัง Podcast คลิก | https://bit.ly/326ZyWK
ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล
นักทำเพลงประกอบมือรางวัลที่เคยได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 28 สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
ฟัง Podcast คลิก | https://bit.ly/36Qsxlp
หวังว่าหลังจากอ่านบทความนี้จบแล้ว ทุกท่านจะชมภาพยนตร์ครั้งถัดไปได้สนุกและมีอรรถรสเพิ่มมากขึ้นจากการฟังดนตรีประกอบอย่างตั้งใจกว่าที่เคยนะครับ