บทความ / 4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก กับอาหารเมนูปิ้งย่าง
Health
4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก กับอาหารเมนูปิ้งย่าง
04 ก.พ. 65
1,719
รูปภาพในบทความ 4 กุมภาพันธ์ วันมะเร็งโลก กับอาหารเมนูปิ้งย่าง

มะเร็ง เป็นโรคที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี ในผู้ชายมักพบมะเร็งตับ ปอด ลำไส้ ทวารหนัก ต่อมลูกหมาก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ส่วนผู้หญิงมักพบมะเร็งเต้านม ตับ ปากมดลูก ปอด ลำไส้และทวารหนัก ซึ่งยังไม่รวมถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วมะเร็งมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคใหม่ มีความเป็นเมืองมากขึ้น อาหารการกินรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้แต่ละปีพบผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี ทางองค์การอนามัยโลกและสมาคมต่อต้านมะเร็งสากล ได้กำหนดให้วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันมะเร็งโลก (World Cancer Day)

อาหาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดมะเร็งและโรคได้หลายชนิด อาหารชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างมากในปัจจุบัน กินได้ตลอดไม่ต้องคำนึงถึงช่วงหน้าเทศกาล นั่นคือ อาหารปิ้งย่าง

เวลาที่เราไปเที่ยวบนดอยหนาว ๆ งานสังสรรค์หน้าเทศกาล หรือการนัดกลุ่มเพื่อนไปหาอะไรกิน คงหนีไม่พ้น อาหารปิ้งย่าง ยิ่งกินช่วงที่อากาศหนาว ๆ หลายคนคงฟินกับอาหารประเภทนี้ที่เข้ากับบรรยากาศเสียเหลือเกิน แต่เดี๋ยวก่อน...!!

อาหารประเภทปิ้งย่างส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์จำนวนมาก ทั้งที่ติดมันและไม่ติดมัน กับปริมาณผักอันน้อยนิด อาหารประเภทนี้ต้องระวังสารก่อมะเร็ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. โพลีไซคลิก แอโรแมติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons (PAHs))

2. เฮเทอโรไซคลิก เอมีน (Heterocyclic Amines (HCAs))

สาร 2 กลุ่มนี้เกิดจากไขมันสัตว์ อาหารกลุ่มโปรตีนที่โดนความร้อนจนไหม้เกรียมและเขม่าควันจากการปิ้งย่าง ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่, เต้านม, ปอด, กระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร ไม่เพียงเท่านั้นยังมีผลต่อระบบการเติบโต และระบบสืบพันธุ์อีกด้วย

สำหรับเนยที่ใช้ปิ้งย่างส่วนใหญ่เป็นไขมันอิ่มตัว หากบริโภคมากไปเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

แม้อาหารประเภทนี้จะก่อสารมะเร็งที่ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะกินไม่ได้ ในเมื่ออยากกินต้องได้กิน

กินอย่างไรลดเสี่ยงสารก่อมะเร็ง ?

  1. ควรเว้นระยะการกิน เช่น เดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 เดือนครั้ง
  2. ลดปริมาณเนื้อสัตว์และไขมันสัตว์
  3. เพิ่มคุณภาพอาหารด้วยเนื้อปลา กระเจี้ยบเขียว หรือผักชนิดอื่น ๆ ที่ล้างสะอาด
  4. เนื้อสัตว์ควรมักด้วยเครื่องเทศ มะนาว สะระแหน่ หรือพริกไทย ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระ
  5. เครื่องดื่มควรเป็นชามะนาว หรือชาเชียวไม่ใส่น้ำตาล แต่ที่ดีที่สุดคือ น้ำเปล่า
  6. ควรเลือกกระทะที่สามารถปิ้งย่างแบบไม่ใช้น้ำมันและไม่ติดกระทะ หากไม่มีให้เปลี่ยนกระทะทันทีเมื่อเนื้อสัตว์เริ่มติดและไหม้เกรียม
  7. ควรเลือกร้านหรือสถานที่ที่สามารถถ่ายเทควันปิ้งย่างได้ดี หรือสถานที่โล่ง ๆ

 

ฟังรายการ โรงหมอ ทาง Thai PBS Podcast

คลิก >> Website | Spotify | SoundCloud | Apple Podcast | Google Podcast

หรือฟังทาง Application | Thai PBS Podcast 

สแกน QR Code ดาวน์โหลดได้ที่นี่

เรียบเรียง: เชาว์วรรธณ์ พยัฆพันธ์
ข้อมูล:     ผศ. ดร.เอกราช บำรุงพืชน์
กราฟิก:    มัณฑนา ยารังษี

 

แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป