บทความ / ไวไฟบนดวงจันทร์
Sci & Tech
ไวไฟบนดวงจันทร์
20 ก.ย. 67
186
รูปภาพในบทความ ไวไฟบนดวงจันทร์

อุตสาหกรรมสำรวจอวกาศกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว มีทั้งผู้เล่นเจ้าใหญ่และเจ้าเล็กเข้ามาเป็นจำนวนมาก และดวงจันทร์ได้กลับมาเป็นหมุดหมายสำคัญของการสำรวจอวกาศอีกครั้ง จากการที่สองขั้วมหาอำนาจทางอวกาศ ทั้งสหรัฐอเมริกา จีนและรัสเซีย ได้ประกาศโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ เพื่อทำภารกิจอวกาศดวงจันทร์ทั้งสองฝั่งกับอาร์ทีมีส (Artemis) และสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ (ILRS) ตามลำดับ

การเติบโตของอุตสาหกรรมได้นำมาซึ่งการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบนโลก เข้ามาใช้ในงานอวกาศมากขึ้นเพื่อลดความยุ่งยากในการดำเนินการ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้เล่นเจ้าเล็กกำลังไม่เยอะมาก เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมได้มากขึ้น รวมถึงทำให้งานอวกาศสามารถเติบโตไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นจากการที่หน่วยงานหรือบริษัทไม่จำเป็นต้องออกแบบระบบพื้นฐานในงานอวกาศใหม่ทุกครั้ง และหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ก็คือไวไฟ (Wi-Fi) ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง

ในปี 2022 นาซาได้นำไวไฟมาใช้บนยานอวกาศโอไรออน ในภารกิจอาร์ทีมีส 1 (Artemis I) ภารกิจทดลองแรกของโครงการอาร์ทีมีส ที่ส่งยานอวกาศไร้มนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์อีกครั้ง โดยไวไฟได้ถูกในการสื่อสารข้อมูลที่ได้รับบางส่วน รวมไปถึงภารจากกล้อง Go Pro ที่ใช้ระบบไวไฟนี้ในการส่งข้อมูลอีกด้วย ซึ่งนับเป็นหมุดหมายที่สำคัญของการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในงานอวกาศ

ภารกิจอาร์ทีมีส 1 - Bill Ingalls

ถัดออกไปถึงพื้นผิวของดวงจันทร์ ในปี 2024 บริษัทแอสโตรโบติก (Astrobotic) บริษัทอวกาศเอกชนสัญชาติอเมริกา ได้ตั้งเป้าหมายในการสร้างยานลงจอด (Lander) ไปลงดวงจันทร์ โดยในคู่มือยานเพริกริน (Peregrine) ยานลงจอดที่บริษัทตั้งเป้าหมายให้ไปลงจอดบนดวงจันทร์ภายในต้นปี 2024 ได้มีการระบุว่าจะมีการปล่อยสัญญาณไวไฟออกมาให้เพย์โหลด (Payload) รวมถึงโรเวอร์ (Rover) ที่ติดไปกับตัวยานและจะออกไปนอกตัวยาน สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารกับตัวยานลงจอดหลักได้ ซึ่งส่งผลให้เพริกรินกลายเป็นยานดวงจันทร์ลำแรกที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการสำรวจอวกาศ

ยานลงจอดเพริกริน - ที่มา  Astrobotic Technology

นอกจาก 2 โครงการนี้แล้ว ก็ยังมีงานทางด้านอวกาศอีกหลายโครงการที่ได้เริ่มหันมามองการใช้ไวไฟเพื่อการสื่อสารมากขึ้น และภาพของการใช้ไวไฟบนภารกิจอวกาศยังเป็นภาพสะท้อนที่สำคัญอีกอย่างที่แสดงให้เห็นว่า ไม่เพียงแต่งานอวกาศที่ส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยีบนโลก แต่เทคโนโลยีบนโลกก็ส่งผลกระทบต่องานอวกาศเป็นพลวัตได้เช่นกัน

ติดตามรายละเอียดของการใช้ไวไฟบนอวกาศ และมุมมองของการทำงานอวกาศให้เข้าถึงผู้คนผ่านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้ใน Starstuff เรื่องเล่าจากดวงดาว ตอน "ไวไฟบนดวงจันทร์"

 


ฟังรายการได้ทาง


แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป