ใครบ้างที่เป็นคนแบบ ให้ทำอะไรทำได้หมด จัดการได้ รู้หมดว่าอะไรอยู่ตรงไหน ขั้นตอนเป็นอย่างไร ประสานงานได้ ฯลฯ แต่ไม่เก่งอะไรเลยสักอย่าง ไม่สุดเลยสักทาง คุณอาจเข้าข่าย "มนุษย์เป็ด" ก็ได้
"เป็ด" เป็นสัตว์มีปีก แต่บินสูงและไกลเหมือนนกไม่ได้ ลอยน้ำมีเท้าเป็นพังผืดว่ายน้ำได้ แต่จะให้ดำดิ่งอยู่ในน้ำนาน ๆ หรือว่ายให้เร็วเหมือนปลาไม่ได้ แต่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมเก่ง จึงถูกนำมาเปรียบเปรยกับคนที่ทำได้ทุกอย่างแต่เก่งสักอย่าง จึงเรียกคนเหล่านี้ว่า "มนุษย์เป็ด" แม้คนกลุ่มนี้เอาตัวรอดเก่ง เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันมาก (Multi skills) แต่คนเหล่านี้ก็มีความกดดันกับสิ่งที่เป็นแล้วมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า สรุปแล้วเราเป็นใคร เราเก่งอะไรกันแน่ รายการ โรงหมอ
เคยไหม เวลาที่เราได้รับมอบหมายหน้าที่หรือทำอะไรก็ตาม หากไม่เป็นไปอย่างที่หวังหรือตั้งใจ มักจะโทษตัวเองว่าไม่เก่งพอ แล้วยิ่งไปเห็นคนอื่นที่เขาทำสำเร็จตามเป้าหมาย ก็ยิ่งบั่นทอนจิตใจตนเองลงไปเอง สิ่งที่เกิดขึ้นเรียกว่า "ภาวะรู้สึกตัวเองไม่เก่งพอ"
ภาวะนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า "อิมโพสเตอร์ซินโดรม" (Imposter Syndrome) เป็นภาวะที่ไม่มั่นใจในความสามารถที่ตนมี แต่รักในความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) ชอบทำงานด้วยตัวเอง ทุ่มเทสุดกำลังในหน้าที่ที่ได้รับ มีมาตรฐานการทำงานและชีวิตที่สูงมาก แต่ก็ชอบกดดันตัวเองทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวด้วยเช่นกัน ท้ายที่สุดหากสิ่งที่ทำไม่สำเร็จตามที่หวังก็มักจะโทษตัวเองและคิดว่ายังไม่เก่งพอ ที่สำคัญคนที่อยู่ในภาวะนี้มักเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำจนนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางกายและจิตใจได้
"ผมคิดว่า... สังคมไทยเป็นสังคมโรแมนติก อะไรที่ดูดีก็แห่ชื่นชม แต่ลืมตั้งคำถามว่า เราก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ระบบดั้งเดิมยังคงอยู่"
.
จากปรากฎการณ์กระแสชื่นชม จดหมายถอดความแนวคิดสิงค์โปร์ วอนผู้ปกครอง "ไม่กดดันเกรดเด็กนักเรียน" The Active ชวนเปิดใจ ผู้อำนวยการโรงเรียน ต้นทางจดหมาย
.
และตั้งคำถามต่อว่า เราจะสร้างสมดุลให้ "เด็กไทยเก่งยืนหนึ่ง" แข่งขันกับโลกได้ โดยไม่ตัดสินด้วยเกรด ได้จริงหรือ? กับ ผศ.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้ และศึกษาศาสตร์ มธ. และบทสัมภาษณ์บางส่วน ของ รศ.อนุชาติ พวงสำลี หนึ่งในผู้ก่อตั้งคณะวิทยาการเรียนรู้ และศึกษาศาสตร์ มธ. ใน The Active Podcast EP.101 | "ยืน 1 ไม่อิงเกรด" เรียนไม่เก่ง ก็เป็นที่ 1 ในแบบของตัวเอง
ทอมมี่คิดว่าตัวเองเป็นคนหัวช้าและเรียนไม่เก่ง ผู้เป็นพ่อจึงเป็นห่วง และหาอาจารย์สอนพิเศษมาแนะนำความรู้ให้ลูก จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ทอมมี่เริ่มเข้าใจอะไรมากขึ้นนั่นเอง
วิธีลดความอคติที่มีต่อหัวหน้างานที่ทำงานไม่เก่ง แต่ต้องทำงานร่วมกัน จะต้องคิดยังไง สิ่งแรกเลย คือ ขอให้มองว่าคนทุกคนที่ก้าวมาถึงจุดนี้มีอดีตเสมอ เขาต้องเผชิญอะไรมาบ้างในชีวิต ทุกอย่างที่คน ๆ หนึ่งเป็นมีที่มา เราอย่าไปอคติต่อเขา แต่ให้เมตตาเขา ว่าเขาทำดีที่สุดในจุดที่เขายืนอยู่แล้ว ถ้าเรามีเมตตาเราจะเกลียดเขาน้อยลง สอง คือ ให้จำไว้ว่า เราต้องเลือกระหว่างเปลี่ยนกับปล่อย หากเอาแต่พร่ำบ่นทุกวัน ทำไมมันแย่อย่างนี้ เอาแต่นินทาหัวหน้า เอาแต่วิจารณ์เขา แต่ไม่เปลี่ยนแล้วไม่ปล่อย เราเองก็จะไม่ก้าวหน้า เลือกให้ดีว่าจะเปลี่ยนหรือจะปล่อย นี่คือเคล็ดลับในการอยู่กับหรือรับมือกับหัวหน้าที่เรามีอคติด้วย นั่นเอง