Thai PBS Podcast
Advance Search
ผลการค้นหา 43 รายการ
เรียงจาก

26
0
21 มี.ค. 68

ล้อมวงแกะรอย "ทางเถื่อน คลื่นมนุษย์ข้ามแดน" เปิดพฤติกรรมขบวนการลักลอบนำพาชาวเมียนมาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ผ่านชายแดน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี รวมไปถึงกลวิธีในการหลบเลี่ยงจากการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่

ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ยาแรง ส่งหนังสือด่วนลงวันที่ 10 มี.ค. 68 กำชับนายอำเภอใน จ.กาญจนบุรี ให้เพิกถอนสัญชาติและสถานะคนต่างด้าว หากพบเชื่อมโยงขบวนการลักลอบนำพาแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย คดียาเสพติด และความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง รายการ ไม่มีในบท คอลัมน์ออนไลน์จากกลุ่มข่าวสืบสวน สำนักข่าว ไทยพีบีเอส เล่าให้ฟังค่ะ

เล่าเบื้องหลังข่าวโดย...
- วาทินี นวฤทธิศวิน
- เจษฎา ต้นจำปา
- อาทิตย์ โชติสัจจานันท์

160
0
12 มี.ค. 68
  • สายการบินของเกาหลีใต้เริ่มบังคับใช้มาตรการการพกพาพาว์เวอร์แบงค์ขึ้นเครื่องอย่างเข้มวงด รวมถึงอีกหลายสายการบินในแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้
  • โรดริโก ดูเตอร์เต อดีตผู้นำฟิลิปปินส์ ถูกจับตามหมายจับของ ICC ฐานก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติจากการดำเนินนโยบายทำสงครามปราบปรามยาเสพติดจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ท่ามกลางข้อสงสัยในประเด็นรอยร้าวของสองตระกูลใหญ่ในฟิลิปปินส์
83
0
04 ธ.ค. 67
  • โจ ไบเดน เรียกเสียงวิจารณ์ระลอกใหม่ก่อนอำลาตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ในเดือนหน้าด้วยการลงนามในคำสั่งอภัยโทษให้กับบุตรชายของตัวเอง แม้จะเคยให้คำมั่นว่า จะไม่ใช้อำนาจช่วยบุตรชายทางคดีโดยเด็ดขาด
14
3
21 ต.ค. 67

จริง ๆ ยาเสพติด หรือ สารเสพติด บางชนิดที่ใช้และควบคุมสำหรับการรักษาในทางการแพทย์เป็นเรื่องที่ดี แต่คนที่ขาดความรู้แล้วใช้เพื่อเหตุผลบางอย่างมีแต่เสียกับเสีย โดยเฉพาะสภาวะทางสมองที่ส่งผลต่อจิต การดมเพียงหนึ่งปื๊ดหรือเอาเข้าร่างกายเพียงหนึ่งครั้ง สมองก็จะถูกทำลายแล้ว จริงอยู่ตอนที่ใช้มักทำให้เรารู้สึกเคลิ้ม สบาย แต่เมื่อใช้บ่อยและนานวันเข้า สมองที่ถูกทำลายไปเรื่อย ๆ จะแสดงอาการบางอย่างออกมา โดยเฉพาะอาการทางจิต มีการศึกษาวิจัยพบว่า หากเริ่มใช้ยาเสพติดตั้งแต่อายุน้อย ๆ เรื่อยมา เมื่อถึงระดับหนึ่งมีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้คน ๆ นั้นเป็น โรคจิต ถาวรได้ ยาเสพติดส่งผลต่อสภาวะทางจิตได้อย่างไร รายการ โรงหมอ

39
1
29 พ.ค. 67

ไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นสารที่ใช้ในการควบคุมความอยากอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ในทางการแพทย์ใช้สำหรับการควบคุมน้ำหนักร่วมกับโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักอื่น ๆ ในคนที่มีดัชนีมวลกาย (บีเอ็มไอ: BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือคนที่มีดัชนีมวลกาย 27 ขึ้นไปแต่เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมได้ ซึ่งแพทย์จะควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับคนอื่นทั่วไป การกินอาหารเสริมที่มีสารชนิดนี้ "อันตรายเป็นอย่างมาก" เพราะมีผลข้างเคียงเยอะ ที่สำคัญ ไซบูทรามีน ได้ถูกยกเลิกทะเบียนตำรับไปแล้วตั้งแต่ปี 2553 หลังมีรายงานการศึกษาพบว่า มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดผลเสียร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต รวมถึงจัดให้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติดอีกด้วย ไซบูทรามีนในอาหารเสริม อันตรายอย่างไร ผลข้างเคียงร้ายแรงมีอะไรบ้าง รายการ โรงหมอ

45
0
28 พ.ค. 67
  • เปิดข้อมูลของ CDC สหรัฐฯ พบยอดเสียชีวิตจากการเสพยาเกิดขนาดเมื่อปีที่แล้วลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี แต่ยังถือว่าสูงกว่าในปีดังกล่าวเกือบ 2 เท่า
  • ส่องกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ทั่วโลก
154
2
10 พ.ค. 67

วิเคราะห์ เจาะลึก ข่าวเด่น ข่าวร้อน กับ สุทธิชัย หยุ่น, ไพศาล มังกรไชยา และ วิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ กับการวิเคราะห์ประเด็น

- ภูมิธรรมโชว์กินข้าว 10 ปี การันตียังกินได้
- ขายข้าว 10 ปี ไทยได้หรือเสียประโยชน์มากกว่ากัน ?
- เร่งขายข้าว 10 ปี เคลียร์ทางให้ยิ่งลักษณ์กลับไทยหรือไม่ ?
- เศรษฐาเตรียมปรับแก้ "ยาบ้า 1 เม็ดมีความผิด-ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด"
- "ครม. เศรษฐา 1/1" ระส่ำ รับตำแหน่งไม่กี่วัน รมต. ลาออก
- กระทรวงพลังงาน อยากได้อำนาจบริหารจัดการภาษีน้ำมันคืน
- "คลื่นใต้น้ำ" กลุ่มขั้วอำนาจใหญ่ เริ่มจัดทัพใหม่อีกครั้ง
- เอกสารหลุด "ทักษิณ" ดอดคุยกลุ่มชาติพันธุ์-เมียนมา

23
1
03 พ.ค. 67

สารเคมีในบุหรี่มีมากกว่า 7,000 ชนิด โดยมีตัวเด่นตัวร้ายที่สุดนั้นคือ นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่ไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุข คือ โดปามีน (Dopamine) เมื่อสูบแล้วจึงรู้สึกผ่อนคลาย และพบว่านิโคตินเป็นสารที่ฤทธิ์เสพติดสูงที่สุด เมื่อเทียบกับเฮโรอีน แอมเฟตามีน และโคเคน อีกทั้งยังพบว่าฤทธิ์ที่เด่นที่สุดเฉพาะตัวของสารชนิดนี้ คือ ทำให้หลอดเลือดตีบ หดทั่วร่างกาย ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั้งร่างกายได้น้อยลง อาการที่พบได้บ่อยคือ #สมองขาดเลือด ที่ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต #หัวใจขาดเลือด ทำให้หัวใจหยุดเต้น หัวใจวาย ส่วนปอดซึ่งรับนิโคตินโดยตรง ทำให้ปอดอักเสบ หอบหืด โดยเฉพาะคนที่สูบ #บุหรี่ไฟฟ้า อาการรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 จะมาก 5-7 เท่าของคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่ ยังมีข้อมูลที่น่าตกใจอีกมากเกี่ยวกับบุหรี่ โดยเฉพาะบุหรี่ไฟฟ้าที่มีข้อมูลพบว่า อันตรายกว่าบุหรี่มวนหลายเท่านัก รายการ โรงหมอ

91
1
26 เม.ย. 67

โรคเสพติดความสำเร็จจากโซเชียลมีเดีย เกิดจากการเปิดเผยด้านความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว ทำให้เรามองเห็นแต่คนที่มีชีวิตสมบูรณ์แบบเต็มไปหมด จนเกิดการนำมาเปรียบเทียบ สร้างความกดดัน และความเครียดให้กับตนเอง ทำให้เกิดความอยากได้อยากมี รู้สึกอิจฉาในความสำเร็จของคนอื่น โดยไม่ได้มองอีกมุมหรืออีกด้านของคน ๆ นั้นว่า เขาก็อาจเป็นเหมือนกับเรา ที่ซ่อนความรู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวหรือความล้มเหลวเอาไว้ไม่ให้ใครรู้ จนกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิต อยู่ในสภาวะซึมเศร้าจนถึงขั้นทำร้ายตัวเอง โดยเฉพาะการลดคุณค่าและไม่เคารพในตัวเอง จุดเริ่มต้นของโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วเราจะรู้หรือมีสติกับโลกจอมปลอมเหล่านี้และมองกลับมาในโลกแห่งความเป็นจริงต้องทำอย่างไร รายการ โรงหมอ

36
1
17 เม.ย. 67
  • กัมพูชาเตรียมขอขึ้นทะเบียน "สงกรานต์" เป็นมรดกทางวัฒนธรรม
  • เยอรมนีไฟเขียวให้ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้
กำลังโหลด
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
ผลการค้นหา 0 รายการ
เรียงจาก

ไม่พบข้อมูล
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป