จีนเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับผู้ชายในหลายมิติ ทั้งการสืบสายตระกูลผ่านแซ่ฝ่ายชาย สะใภ้แต่งเข้าบ้านสามีและต้องเป็นผู้รับผิดชอบงานบ้าน ความเป็นอยู่ทุกอย่างของคนในครอบครัว แต่กลับถูกละเลยหรือแทบไม่มีตัวตน หากมีใครสักคนจะฝ่าฝืนขนบธรรมเนียมและค่านิยมดั้งเดิม ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและยังเป็นคนกลุ่มน้อย
โสภิต หวังวิวัฒนา ชวน ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ จากคณะอักษรศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งศึกษาผลงานนวนิยายจากนักเขียนชื่อดังของจีน 3 คน คือ หวังอันอี้ เถี่ยหนิงและฉือลี่ เล่าให้ฟังว่า ภาพของผู้หญิงที่ถูกถ่ายทอดโดยมุมมองจากนักเขียนซึ่งเป็นผู้หญิงเช่นกันนั้นจะสะท้อนสภาพสังคม ความเป็นอยู่ รวมทั้งวิธีคิดของคนในยุคนั้นอย่างไร หากพวกเธอจะลุกมาเรียกร้องความเป็นธรรม ความเท่าเทียมและเป็นผู้ขอท้าหย่าสามีที่ไม่ได้เรื่อง หรือกระทั่งจะเป็นคนไปบอกรักชายหนุ่มที่พึงใจก่อนนั้น ทำได้ยากหรือง่ายเพียงใด
หมายเหตุ:ผลงานเรื่อง “การศึกษาเรื่องเพศวิถีและอัตวิสัยของผู้หญิงผ่านผลงานวรรณกรรมจีน แนวสตรีนิยมของนักเขียนหญิง: หวังอันอี้ เถี่ยหนิงและฉือลี่” (สาขาปรัชญา) ของ ดร.รัฐพร ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2568 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ผลงานของนักเขียนทั้ง 3 ท่าน หลายเล่มเป็นพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี