ผู้มีชื่อเสียงและความรับผิดชอบต่อสังคม ก่อนทำธุรกิจที่มีเค้าโครงของ แชร์ลูกโซ่
กรณีคดีบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป เป็นบทเรียนราคาแพง ที่ดาราหรืออินฟลูเอนเซอร์ ละเลยการตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่มีเค้าโครงของ "แชร์ลูกโซ่” ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ส่งผลให้ผู้บริโภคจำนวนมากตกเป็นเหยื่อ หลงเชื่อในภาพลักษณ์อันน่าดึงดูดของเหล่าพรีเซนเตอร์ จนต้องสูญเสียเงินทอง
นำมาซึ่งคำถามที่น่าฉุกคิดว่า ดาราหรือผู้มีชื่อเสียง แต่อาศัยชื่อเสียงชักชวนคนให้หลงเชื่อมาร่วมลงทุน ซื้อสินค้า แต่ทำให้เสียเงิน ไม่ได้เงินคืน ซึ่งถ้าคนไม่รู้เท่าทันก็จะหลงเชื่อแบบนี้ เท่ากับดารา ผู้มีชื่อเสียง หลอกลวงผู้บริโภค กฎหมายกว่าจะเอาผิด เอาเงินมาคืนผู้เสียหาย ก็ใช้เวลานาน และไม่รู้ว่าจะได้เงินคืนหรือไม่ มันควรจะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุกาณณ์แบบนี้ขึ้นอีกจะดีกว่า ด้วยการปรับกฎหมายให้มีบทลงโทษที่หนักขึ้น และการจัดอบรม ดารา อินฟลูเอนเซอร์ ผู้มีชื่อเสียง ก่อนรับงานโฆษณาหรือทำธุรกิจ ที่ต้องไม่หลอกลวงผู้บริโภค ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมด้วย
ฟังจาก คุณ ภัทรกร ทีปบุญรัตน์ รองหัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาผู้บริโภค
เตือนภัย หลอกซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ รักษาเบาหวาน
ผู้เสียหายกว่า 40 คน อ้างว่าได้รับความเสียหายจากเจ้าของเพจเพจหนึ่ง ซึ่งขายอุปกรณ์การแพทย์ ช่วงแรกผู้เสียหายรายหนึ่ง มีลูกวัย 2 ขวบ เป็นเบาหวาน จึงจำเป็นต้องให้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นประจำ จึงสั่งซื้ออุปกรณ์ ได้รับสินค้าปกติ ต่อมาเริ่มไม่ได้รับของ ขอเงินคืนก็ไม่ได้ อีกทั้งระหว่างที่รู้จักกันก็มักจะยืมเงิน จนกลายเป็นชวนลงทุนอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อนำไปขายต่อให้กับสมาชิกที่สนใจ เมื่อขายสินค้าได้ จะให้ผลกำไรตอบแทน ขณะที่ตอนนี้ ผู้เสียหายเริ่มแจ้งความ เมื่อเดือนกันยายน
สัมภาษณ์ คุณเสก ผู้เสียหาย 1.1 ล้านบาท
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่ออะไรในการซักผ้า