บทเพลงเกี่ยวกับ “ดิน” ที่ปรากฏในวัฒนธรรมดนตรีของคนอาเซียน มีความลึกซึ้งกว่าการกล่าวถึงวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกที่เกิดขึ้นจากผลของการแปรสภาพหรือผุพังของหิน-แร่และอินทรียวัตถุผสมเข้าด้วยกัน แต่ยังหมายรวมไปถึงเพลงที่สะท้อนอดีตผ่านเพลงแห่งความทรงจำ
.
การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับดิน โอกาสของการเติบโต และเพลงที่กำหนดความเป็นพื้นที่ขอบเขต ตลอดจนถึงอุดมการณ์บางอย่างที่ใช้ดินเป็นตัวแปรในการกำหนดหรือควบคุมอุดมการณ์ความคิดนั้น กัมพูชา ไทย สื่อสารเรื่องราวของดินกันด้วยคำ ๆ เดียวกัน แม้จะสะกดต่างกันไปบ้างแต่ก็ฟังแล้วเข้าใจกันได้การสำรวจ
.
นำเพลงดินของกัมพูชา ที่ถูกสร้าง ถูกจัดวาง ผ่านเงื่อนไขทางการเมืองชาตินิยม และวิถีชีวิตหลังยุคอาณานิคม มีทั้งบทเพลงดินที่เด็ก ๆ นักเรียนประถมขับร้องหน้าเสาธงก่อนเข้าเรียน เพลงที่เป็นตัวแทนของรัฐกษัตริย์-ศาสนา เพลงที่เล่าพงศาวดารกัมพูชา และเพลงที่ให้ความหวังของคนรุ่นใหม่ในการอุทิศตนเพื่อประเทศชาติ