เรื่องระหว่างเส้น ตอน “คนจีนโพ้นทะเลในวรรณกรรมไทย” เรื่องราวชาวไทยเชื้อสายจีน ส่วนมากบรรพบุรษจะมาจากซัวเถาในมณฑลกวางตุ้งทางตอนใต้ของจีน ส่วนใหญ่พูดภาษาแต้จิ๋ว ในที่นี้มีนวนิยายไทยอย่างน้อย 3 เรื่องที่มีชื่อเสียงมาก ได้แก่ จดหมายจากเมืองไทย ของโบตั๋น, อยู่กับก๋ง ของหยก บูรพา และลอดลายมังกร ของประภัสสร เสวิกุล ซึ่งทุกเล่มเล่าเรื่องราวของคนจีนโพ้นทะเล คนจีนเชื้อสายไทย และลูกหลานจีนที่กลายเป็นคนไทย แสดงทัศนคติของคนจีนที่มีต่อคนไทยอย่างมีชีวิตชีวา
.
นั่นเป็นภาพจําของคนจีนรุ่นก่อนที่หนีความยากจนจากเมืองจีนในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ มาสร้างเนื้อสร้างตัวด้วยความขยันในไทย กลายเป็นคนไทยเชื้อสายจีนที่เรียนหนังสือไทย มีสํานึกถึงบุญคุณแผ่นดินไทยใต้พระบรมโพธิสมภาร
.
แต่ภาพจํานี้อาจกําลังเลือนหายไป เมื่อคนจีนระลอกใหม่ที่กําลังรุกคืบเข้ามายึดครองธุรกิจต่างๆ ในย่านสําคัญของกรุงเทพฯ เช่น ห้วยขวาง รัชดาภิเษก ไม่ได้ซึมซับวัฒนธรรมจีนและวัฒนธรรมไทย แต่เข้ามาในคราบนักธุรกิจที่มาลงทุนในกิจการ เช่น อสังหาริมทรัพย์, การศึกษา
.
ผศ.ดร.นริศ วศินานนท์ ผอ.สถาบันขงจื่อการแพทย์แผนจีน ม.หัวเฉียวฯ พูดถึงทัศนะของคลื่นลูกใหม่ที่เป็นคนจีนในไทยปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างไปมาก
.