Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / โรงหมอ / EP. 679: เค็ม ช่วยชูรสชาติอร่อย แต่แฝงอันตราย
31:45
EP. 679: เค็ม ช่วยชูรสชาติอร่อย แต่แฝงอันตราย
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
EP. 679: เค็ม ช่วยชูรสชาติอร่อย แต่แฝงอันตราย
วันที่เผยแพร่ : 04 ก.ค. 65
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

แต่ละปีประเทศไทยต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ไปกว่า 20,000 คน จากอาการป่วยที่เกิดจากความเค็ม เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคไต, โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง จากงานวิจัยพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงคนไทยที่ติดเค็มนั้น มาจากอาหารยอดนิยมของแต่ละภูมิภาคมีปริมาณโซเดียมสูง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมติดรสเค็ม โดยเครื่องปรุงทีเป็นแหล่งโซเดียมหลักของภาคอีสาน คือ น้ำปลา ขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ และกรุงเทพฯ ใช้เกลือเป็นเครื่องปรุงรสเค็มเป็นหลัก ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนประกอบของเครื่องแกง ขณะที่เครื่องปรุงรสเค็มประจำถิ่น เช่น ปลาร้า (โซเดียมเฉลี่ย 4,000-6,000 มก./100 ก.) กะปิ (โซเดียม 500 มก./1 ช้อนชา) บูดู (โซเดียมเฉลี่ย 8,047.25 มก./100 ก.) ฯลฯ พบว่า มีการเติมเครื่องปรุงรสอย่างผงชูรสหรือผงปรุงรสเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่วิธีการผลิตดั้งเดิมไม่มีการเติมสารเหล่านี้ ทำให้มีปริมาณโซเดียมที่ไม่ได้มาจากเกลือเพื่อถนอมอาหารสูงเกินความจำเป็น

ความคิดเห็น ()
รูปภาพโปรไฟล์ผู้แสดงความคิดเห็น
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป