Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / ภูมิคุ้มกัน / จับแพทย์ปลอมแอบอ้างสมัครคลีนิกเสริมความงามฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
52:15
จับแพทย์ปลอมแอบอ้างสมัครคลีนิกเสริมความงามฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
จับแพทย์ปลอมแอบอ้างสมัครคลีนิกเสริมความงามฉีดโบท็อกซ์ ฟิลเลอร์ / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 20 ธ.ค. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

จากกรณีพิมรี่พาย หุ้นส่วนอิสคิวท์คลินิกเวชกรรมสาขาห้วยขวาง เข้าพบพนักงานสอบสวน กก.4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) แจ้งว่าได้ถูก นางสาวอาลินดา ปลอมเอกสารใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของ แพทย์หญิงปิยนุช เพื่อมาสมัครเป็นแพทย์ของคลินิก เป็นเหตุให้ได้รับความเสียหาย ล่าสุด จับหมอปลอมรายนี้ได้แล้ว โดยผู้ต้องหาให้การรับสารภาพ ว่าเมื่อประมาณกลางปี 2564 น.ส.อาลินดา ได้ใบประกอบวิชาชีพของ แพทย์หญิงท่านหนึ่งมาสมัครงาน เป็นแพทย์ พาร์ทไทม์ ที่คลินิก อิสคิวท์ โดยได้ใช้เอกสารประจําตัวและใบประกอบ วิชาชีพ ของแพทย์หญิงท่านหนึ่ง โดยสมอ้างว่าเป็นตนเอง เข้าไปทํางานในคลินิกดัง รับรักษาเกี่ยวกับงานสกิน และดูแลผิวหน้า ฉีดฟิลเลอร์,โบท็อกซ์ ฯ
     จากการสอบสวน พบว่าผู้ต้องหาจบการศึกษาเพียงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้สมัครเข้าทํางาน เป็นเซลล์อยู่ที่คลินิก เสริมความงามแห่งหนึ่งย่านจตุจักร ต่อมาคลินิกดังกล่าวได้ขยายสาขา จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการสาขาและเป็นเซลล์ ซึ่งในระหว่างที่ทํางานในคลินิกแห่งนี้ ได้ลักลอบนํายาโบท็อกซ์ที่เหลือจากการให้บริการลูกค้ามาทดลองฉีดกันเอง ในกลุ่มพนักงาน จนเกิดความชํานาญ จนกระทั่งมาก่อเหตุดังกล่าว

     โดยตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาคือ ฉ้อโกงโดยการแสดงตนเป็นบุคคลอื่น, ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาต ,ใช้คําหรือข้อความที่แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความ ชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ, ข้อหานำไปซึ่งเอกสารของผู้อื่น ซึ่งมีผู้เสียหาย คือแพทย์ที่ถูกนำชื่อไปแอบอ้าง จากนี้จะเตรียมสอบปากคำแพทย์ตัวจริงที่ถูกแอบอ้างก่อน จากนั้นจึงจะไปขอศาลอนุมัติหมายจับและแจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อไป
     ส่วนผู้เสียหายที่เข้าทำการรักษากับผู้ต้องหาสามารถแจ้งความดำเนินคดีได้ ทั้งทางแพ่งและอาญา แต่ตำรวจจะต้องประสานข้อมูลร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือ สบส. ประกอบการพิจารณา ว่าจะสามารถดำเนินการได้ในแนวทางไหนบ้าง ซึ่งคลินิกจะปัดความรับผิดชอบไม่ได้ แต่เมื่อมองเจตนาเชื่อว่าคลินิกไม่ทราบว่าเป็นหมอปลอม แต่ผู้เสียหายสามารถแจ้งความดำเนินคดีกับหมอปลอมได้เพราะทำการรักษาให้จริงและจากข้อมูลของชุดสืบสวน ยังไม่พบว่าผู้ต้องหาแอบอ้างในลักษณะเดียวกันกับคลินิกอื่น

กรณีมีผู้แชร์ข้อมูลในโลกออนไลน์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มที่สามารถทาแล้วจะช่วยทำให้จมูกดั้งโด่ง ภายใน 7 วัน  ภญ.สุภัทรา บุญเสริม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ด้านสาธารณสุข รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ไม่มีผลิตภัณฑ์ครีมหรือเซรั่มใด ที่ทาแล้ว จะสมารถช่วยทำให้จมูกโด่ง ภายใน 7 วัน
     เพราะในความเป็นจริง โครงสร้างของจมูกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ โครงสร้างส่วนด้านบนเป็นกระดูกแข็ง ด้านล่างเป็นกระดูกอ่อน โดยห่อหุ้มด้วยผิวหนังและไขมัน ดังนั้น ครีมที่ทำให้ดั้งโด่งจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างกระดูก ส่งผลให้จมูกโด่งอย่างแน่นอน  ผู้ผลิตหรือขายผลิตภัณฑ์ที่หลอกลวงสรรพคุณให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ถือเป็นการโฆษณาที่แสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือเกินความจริง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 ต้องระวางโทษโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  

ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
ตอนถัดไป
ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป