จากกรณีชายขับแท็กซี่คันหนึ่ง ทำกระชากหน้ากากอนามัยหญิงที่ยืนรอรถที่ป้ายรถเมล์โดยที่ไม่รู้จักกันมาก่อน จนหญิงคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บคือมีรอยที่คอ จึงแจ้งความดำเนิคดี ต่อมาปรากฎว่ามีคนที่ถูกชายขับแท็กซี่คนดังกล่าว แสดงมีพฤติกรรมแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ ในลักษณะลวนลามผู้ใช้ทางร่วมบนท้องถนน ออกมาให้ข่าวอีก 2 คน ต่อมาพนักงานสอบสวน สน.พระโขนง จับกุมและควบคุมตัวเพื่อสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญาตามที่ผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ไว้ แต่คนขับแท็กซี่ที่ก่อเหตุ ไม่ใช่เจ้าของรถ กรมขนส่งทางบก ได้เรียกเจ้าของรถมาชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ในวันเวลาที่เกิดเหตุได้ให้ผู้ก่อเหตุ เป็นผู้เช่ารถและจากการตรวจสอบข้อมูลใบอนุญาตขับรถของผู้ก่อเหตุปรากฏว่าไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ
โดยเจ้าของรถยอมรับว่า มิได้ตรวจสอบใบอนุญาตขับรถของผู้ขับรถคันดังกล่าว ดังนั้น กองตรวจการขนส่งทางบก จึงได้ดำเนินการพิจารณาลงโทษเจ้าของรถในฐานความผิดยินยอมให้ผู้ซึ่งไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะเข้าขับรถของตน จึงได้ลงโทษเปรียบเทียบปรับเป็นเงิน จำนวน 2,000 บาท ตามมาตรา 56 ประกอบกับมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522
กรณีนี้ บทลงโทษตามกฎหมายเหมาะสมหรือไม่ การเยียวยาผู้เสียหายจะเรียกร้องจากใคร
และข้อเสนอเพื่อปรับปรุงบริการรถแท็กซี่ให้มีความปลอดภัยต่อผู้โดยสารอย่างไร ฟังจาก
สัมภาษณ์ คุณคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ เจ้าหน้าที่โครงการรถโดยสารปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา ตอน แสงซินโครตรอนคลี่คลายคดีเกี่ยวกับไมโตคอนเดรียดีเอ็นเอได้ด้วยหรือ