จากกรณีปัญหาบริเวณทางเข้า-ออก คอนโดมิเนียม แอชตัน อโศก มีความกว้างไม่เป็นไปตามกฏหมายกำหนด คือ 12 เมตร แต่ผู้พัฒนาโครงการไปเช่าพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นำมารวมเป็นทางเข้า-ออก ซึ่งศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 ก.ค.66 โดยสั่งเพิกถอนใบรับแจ้งเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารโครงการคอนโดมิเนียมแอชตัน อโศก ทุกฉบับโดยให้มีผลย้อนหลังถึงวันที่ออกหนังสือ ทำให้กระทบอย่างมากต่อผู้บริโภคที่ซื้อโครงการแอชตัน อโศก ทาง กทม. แถลงมอบหมายให้สำนักการโยธา ออกหนังสือแจ้ง ถึง บ.อนันดา เจ้าของโครงการคอนโดมิเนียม แอชตัน อโศก เพื่อเพิกถอนใบอนุญาต ตาม ม.41 ของ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หลังจากได้หนังสือแล้วทางบริษัท สามารถดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ภายในระยะวลาไม่น้อยกว่า 30 วัน มาตรา 39 ทวิ ของกฎหมายควบคุมอาคาร
แต่ตัวแทนลูกบ้าน ยืนยันว่า ที่ผ่านมา เจ้าของโครงการหรือนิติบุคคล ไม่เคยชี้แจง ทำให้ไม่เคยทราบว่า จะมีปัญหาเกี่ยวกับทางเข้า - ออก จนกระทั่งมีคำพิพากษาของศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด มีความกังวลใจมากต่อสถานการณ์ของโครงการนี้
ฟังแง่มุมกฎหมาย ทางเข้า-ออกอาคาร สำคัญอย่างไร ต่ออาคารขนาดใหญ่ และทางออกช่วยผู้บริโภค จาก
คุณโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครอง และพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน ใช้น้ำมันนวดแก้ปวดเมื่อยที่มีสารเมทิลซาลิไซเลตต้องใช้ให้ถูกตามระบุบนฉลาก