การกำกับดูแลร้านอาหารให้แจ้งส่วนผสมอาหารป้องกันการแพ้อาหาร
กรณีผู้บริโภคพาลูกไปกินสุกี้ร้านดัง ลูกแพ้ปลา จึงสั่งลูกชิ้นปูและหมูทรงเครื่องมาให้กิน ปรากฎว่า เกิดอาการแพ้ หายใจไม่ออกต้องส่งโรงพยาบาล สอบถามร้าน แจ้งว่า มีส่วนผสมเนื้อปลาอยู่ในลูกชิ้นปูและหมูทรงเครื่อง ซึ่งทางร้านแถลงขอโทษและรับผิดชอบเรื่องค่ารักษา เพื่อเป็นป้องกันการเข้าใจผิด ตามสิทธิผู้บริโภคขั้นพื้นฐานที่ระบุใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อหรือเลือกบริโภค
-ตามมาตรฐานทั่วไป หรือกฎหมาย มีกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลอาหารที่ร้านอาหารต้องแจ้งลูกค้าไว้อย่างไร
-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กรมอนามัย) กำกับดูแลร้านอาหารทั้งใน กทม. และต่างจังหวัด ในเรื่องการแสดงส่วนผสมของอาหารตามความจริง
ฟังจาก นายชัยเลิศ กิ่งแก้วเจริญชัย รองผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ
สคบ. ตรวจสอบค่ายรถ BYD ลดราคา เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีค่ายรถยนต์ไฟฟ้า BYD ประกาศลดราคาตั้งแต่ 90,000 – 340,000 บาท ว่าผิดกฎหมายหรือเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่ พร้อมสั่งการให้เชิญ 2 ฝ่ายมาเจรจาเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรม
มาตรการส่งดี เปิดกล่องดูสินค้าได้ก่อนจ่ายเงินปลายทาง
ติดตามกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ สคบ. ออกมาตรการส่งดี ให้ผู้บริโภคที่สั่งซื้อสินค้าแบบเก็บเงินปลายทางสามารถแกะกล่องดูสินค้าได้ก่อนโอนหรือจ่ายเงิน เพื่อป้องกันปัญหาสินค้าไม่ตรงปก เตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็ว ๆ นี้ก่อนมีผลบังคับใช้
ฟังรายละเอียดจาก นายเลิศศักดิ์ รักธรรม ผอ.กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา สคบ.
คิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กับ ชนาธิป ไพรพงค์
ตอน ทำไมการเดินสบาย ๆ ถึงไม่เพียงพอเมื่อต้องการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี