Thai PBS Podcast
Podcast / รายการ / ภูมิคุ้มกัน / EP. 392: สารสไตรีนโมโนเมอร์ สารพิษเสี่ยงก่อมะเร็งและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
52:26
EP. 392: สารสไตรีนโมโนเมอร์ สารพิษเสี่ยงก่อมะเร็งและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
ฟังรายการ
ชื่นชอบ
EP. 392: สารสไตรีนโมโนเมอร์ สารพิษเสี่ยงก่อมะเร็งและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย / สภาวะกรดด่างในแต่ละอวัยวะของมนุษย์ปรับได้ด้วยอาหารจริงหรือ
วันที่เผยแพร่ : 05 ก.ค. 64
เพิ่มในเพลย์ลิสต์
ดาวน์โหลด
แชร์

สารสไตรีนโมโนเมอร์ สารพิษเสี่ยงก่อมะเร็งและข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย 


กรณีเกิดเหตุระเบิดและไฟไหม้ที่โกดังเก็บสารเคมีของ บริษัทหมิงตี้ เคมีคอล ถนนกิ่งแก้ว 21 ส่งผลให้ควันสีดำลอยคละคลุ้ง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า เป็นการเผาไหม้สารเคมีในกระบวนการผลิตโฟมและเม็ดพลาสติก และมีสารสไตรีนโมโนเมอร์ ซึ่งเป็นสารพิษ จึงเร่งอพยพประชาชนที่อยุ่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ออกจากพื้นที่เพื่อป้องกันอันตรายจากการสูดดมสารพิษ


ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา กล่าวว่า National Toxicology Program  (NTP) ของสหรัฐฯ มีรายงานเกี่ยวกับสารสไตรีนโมโนเมอร์ว่า คาดว่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ที่กล่าวเช่นนี้เพราะยังไม่มีข้อมูลทางระบาดวิทยาที่ชัดเจน แต่มีผลการศึกษาในสัตว์ทดลองว่าเป็นสารที่ก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว 


สารสไตรีนโมโนเมอร์ที่ลอยไปในอากาศนั้น จะอยู่ประมาณ 1- 2 วัน ก็จะสลายตัวไป ส่วนที่อยู่ในน้ำและดิน ก็จะถูกทำลายด้วยแบคทีเรีย เพราะฉะนั้น อย่างน้อย 2 วัน จะต้องไม่เข้าไปในสถานที่ ที่มีการปนเปื้อน 


ในกรณีที่เกิดไฟไหม้โรงงานสารเคมีสไตรีนและเกิดควันดำ ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย ให้อพยพถ้าอยู่ในรัศมี 5 – 10 กิโลเมตรรอบจุดที่มีไฟไหม้  และถ้าต้องอยู่ในบริเวณนั้นและกำลังอพยพ ให้ใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันสารพิษโดยเฉพาะ แต่ถ้าไม่มีให้สวมหน้ากากอนามัยที่ชุ่มน้ำ เพราะสารพิษไม่ละลายในน้ำ น้ำจะช่วยกันสารพิษให้ผ่านหน้ากากได้น้อยลง หรือใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูก และเร่งอพยพออกจากพื้นที่โดยเร็ว 

ผู้จัดรายการ
วิทยากร
ตอนถัดไป
ตอนที่เกี่ยวข้อง
แผ่นเสียง แผ่นเสียง
กำลังออกอากาศ ไม่มีการออกอากาศ แผ่นเสียง Radio แผ่นเสียง Podcast เล่นแผ่นเสียง พักแผ่นเสียง
คลิปเสียงถัดไป