สภาองค์กรของผู้บริโภค เสนอแก้ไขปัญหาแอปพลิเคชันเงินกู้เถื่อนออนไลน์ ซึ่งมีผู้บริโภคจำนวนมากได้รับความเสียหายเมื่อถูกล่อให้เข้าไปใช้ "แอปพลิเคชัน เงินกู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมาย” ซึ่งถึงแม้ว่าหน่วยงานของรัฐจะดำเนินการจับกุมขบวนการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทั้งหมด อีกทั้งยังพบว่าขบวนการดังกล่าวเป็นการหลอกลวงข้ามชาติโดย มีชาวต่างชาติเป็นนายทุนเบื้องหลังนั้น โดยได้ส่งข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน 5 หน่วยงาน ได้แก่
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ 5. บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด
ข้อเสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
- ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกระเบียบกำหนดให้การปล่อยกู้ผ่านแอปฯ เงินกู้ออนไลน์เป็นเรื่องผิดระเบียบและกฎหมาย เพราะไม่มีการจดทะเบียน และห้ามโฆษณาการปล่อยกู้เงินทางสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบ
- ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดขึ้นทะเบียนแอปพลิเคชันเงินกู้ และมีตราสัญลักษณ์แสดงหน้าแอปฯ ว่าได้ขึ้นทะเบียนแล้ว และมีเว็บไซต์หรือแอปฯ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้โดยง่าย
ข้อเสนอต่อกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
- เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการกับแอปฯ เงินกู้ที่ผิดกฎหมายในส่วนของการคุ้มครอง
ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
- ควรมีระบบการกำกับและป้องกัน การเผยแพร่หรือโฆษณาข้อมูลแอปฯ เงินกู้ผิดกฎหมายบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
ฟังรายละเอียดเพิ่มเติมจาก นายกมล กมลตระกูล ประธานอนุกรรมการด้านการเงินและการธนาคาร สภาองค์กรของผู้บริโภค
ช่วงคิดก่อนเชื่อ กับ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักพิษวิทยา และชนาธิป ไพรพงค์ ตอน กาแฟสำเร็จรูปอาจมีปัญหา ถ้าเก็บไม่ดี